กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1506
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแบบยั่งยืนเพื่อการค้า และการอนุรักษ์ (ปีที่ 1)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sustainabte devetopment of storage technotogy of striped catfish (Pongasianodon hypophtholmus) mitt for commerciaI and conservation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
น้ำเชื้อ -- การเก็บและรักษา
ปลาสวาย -- การผสมเทียม
ปลาสวาย
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแบบยั่งยืนเพื่อการค้าและการอนุรักษ์ ในปีที่ 1 ได้ทำการศึกษาถึงชนิดและอัตราส่วนการเจือจางที่เหมาะสมของสารละลายบัฟเฟอร์ในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแบบแช่เย็น และความเป็นพิษของยาปฏิชีวนะต่อการเก็บรักษาและการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในน้ำเชื้อปลาสวายแบบแช่เย็น ผลจากการศึกษาพบว่าสารละลายบัฟเฟอร์ Extender 7 และ Ca-7 HBSS มีความเหมาะสมในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแบบแช่เย็น เนื่องจากสามารถเก็บรักษาสเปิร์มได้นาน 5 วัน (120 ชั่วโมง) โดยสเปิร์มยังมีการเคลื่อนที่ประมาณ 10% ส่วนการศึกษาถึงอัตราส่วนการเจือจางน้ำเชื้อปลาสวายพบว่า น้ำเชื้อที่เจือจางด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ Ca-F HBSS อัตราส่วน 1:1 และ 1:2 และ 1:4 สามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) โดยสเปิร์มยังมีการเคลื่อนที่ประมาณ 20% หลังการแช่เย็นนาน 5 วัน (120 ชั่วโมง) จึงได้นำการเจือจางน้ำเชื้อด้วย Ca-F HBSS ในอัตราส่วน 1:1 มาทำการศึกษาต่อไป ในขั้นตอนต่อมาทำการศึกษาถึงความเป็นพิษของยาปฏิชีวนะต่อการเก็บรักษาและการศึกษาต่อไป ในขั้นตอนต่อมาทำการศึกษาความเป็นพิษของยาปฏิชีวนะต่อการเก็บรักษาและการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในน้ำเชื้อปลาสวายแบบแช่เย็น พบว่าการเติมยาปฏิชีวนะ Penicillin streptomycin ความเข้มข้น 0.1% มีประสิทธิภาพในการนำมาประยุกต์ใช้ในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแช่เย็น เนื่องจากมีความเป็นพิษต่อสเปิร์มปลาสวายต่ำ โดยประเมินจากการรักษาเปอร์เซ็นต์สเปิร์มที่มีชีวิตและเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลาสวายรวมทั้งสามารถ ลดปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า สารละลายบัฟเฟอร์ Ca-F HBSS ในอัตราส่วน 1:1 และการเติมยาปฏิชีวนะ Penicillin-streptomycin ความเข้มข้น 0.1% มีประสิทธิภาพที่เหมาะสมในการนำมาพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายในขั้นตอนต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1506
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_048.pdf28.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น