กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1505
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาศักยภาพพืชสมุนไพรไทยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งสู่มาตรฐานสากล (ปีที่2)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Thai medicinal plants for improvement of dried seafood products into international standard
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: จุลินทรีย์
พืชสมุนไพรไทย
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
อาหารทะเลแห้ง
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาถึงผลของการสกัดเดี่ยวที่สกัดด้วยเอทานอลของสมุนไพรพื้นบ้าน 2 ชนิดคือ สมุนไพร A และสมุนไพร B รวมทั้งศึกษาถึงผลของสารสกัดผสมระหว่างสมุนไพร A กับสมุนไพร C และสมุนไพร B กับสมุนไพร C ต่อแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมด แบคทีเรียก่อโรค 3ชนิด ได้แก่ Methicillin-Resistant Staphylococcus aureus (MRSA) T18, Pseudomonas aeruginosa DS001 และ Edwardsiella tarda biogroup 1 DS002 ในหมึกแปรรูป และได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการทดสอบความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียในหมึกแปรรูปของสารสกัดเดี่ยว และขั้นตอนที่ 2 เป็นการทดสอบความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียในหมึกแปรรูปของสารสกัดผสมระหว่างสมุนไพร A กับสมุนไพร C และสมุนไพร B กับสมุนไพรC เป็นเวลา 28 วัน ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า สารสกัดเดี่ยวของสมุนไพร A และสมุนไพร B ไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรเทรปทั้งหมดและแบคทีเรียก่อโรค ทั้ง 3 ชนิด ส่วนสารสกัดผสมระหว่างสมุนไพร B กับสมุนไพร C ไม่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย กลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมด MRSA T18 และ E.tarda biogroup 1 DS002 แต่สามารถยับยั้ง P. aeruginosa DS001 ได้ อย่างไรก็ตามสารสกัดผสมระหว่างสมุนไพร A กับสมุนไพร C สามารถยับยั้งได้ทั้ง P. aeruginosa DS001 และ E.tarda biogroup 1 DS002 แต่ไม่สามารถยับยั้งแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดและ MRSA T18 ในหมึกแปรรูป ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรทำการพัฒนาสารสกัดผสมระหว่างสมุนไพร A กับสมุนไพร C เพื่อใช้เป็นสารต้านจุลชีพในอาหารแทนการสารเคมีสังเคราะห์ และขั้นตอนต่อมาได้ทำการประเมินเบื้องต้นถึงความเหมาะสมของการเติมสกัดสมุนไพรที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตอาหารทะเลแห้งและแปรรูปเพื่อลดชนิดและปริมาณของแบคทีเรียทั้งหมดรวมทั้งแบคทีเรียก่อโรคในแต่ละขั้นตอนการผลิตต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1505
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_043.pdf27.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น