กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1497
ชื่อเรื่อง: | ผลของไฟโตรเอสโตรเจนต่อการสังเคราะห์ฮอร์โมนเอสโตรเจน ของเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสในภาวะชรา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิริพร จำเนียรสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความจำเสื่อม ผู้สูงอายุ ภาวะชรา สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เซลล์ประสาท |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ความจำเสื่อมพบมากในผู้สูงอายุ เกิดจากเซลล์ประสาทเสื่อมโดยเฉพาะเซลล์ประสาทของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งมีรายงานว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนจากต่อมเพศ แต่อย่างไรก็ตามเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสเองก็สามารถสังเคราะห์เอสโตรเจนได้ เป็นไปได้หรือไม่ว่าในภาวะชราเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสมีการสังเคราะห์เอสโตรเจนลดลง และเป็นสาเหตุของภาวะความจำเสื่อมที่พบในผู้สูงอายุ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาการสังเคราะห์เอสโตรเจนจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสในแบบจำลองภาวะชรา ด้วยวิธีเรดิโออิมมูโนแอสเสย์ และทำการเพาะเลี้ยงประสาทฮิปโปแคมปัสร่วมกับเซลล์ไมโครเกลียระยะกระตุ้นซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของสมองในภาวะชรามี่สำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการสังเคราะห์เอสโตรเจนจากเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสในภาวะชรา ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ในภาวะที่เซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสอยู่ในระยะชราโดยดูจากการแสดงออกของ amyloid beta ปริมาณสูงสุด คือ 40 วันของ การเพาะเลี้ยง มีการสังเคราะห์เอสโตรเจนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับระยะที่พัฒนา (5 วันของการเพาะเลี้ยง) ซึ่งมีปริมาณ เอสโตรเจนสูงสุดซึ่งให้ผลเช่นเดียวกับการแสดงออกของโปรตีน steroidgenic acute regulatory (StAR) ซึ่งมีร้องละของการแสดงออกสูงสุด ที่วันที่ 5 และลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 5 วัน จนกระทั่งไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุม และ เมื่อทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสร่วมกับเซลล์ไมโครเกลียระยะกระตุ้น พบว่าไม่มีการเพิ่มปริมาณของเอสโตรเจนถึงแม้ว่าจะ ทำการเพาะเลี้ยงจนกระทั้งเข้าสู่ระยะพัฒนาก็ตาม เช่นเดียวกับกลุ่มที่ได้รับ interleukin-6 บ่งชี้ว่าสารที่หลั่งจากเซลล์ไมโครเกลียระยะกระตุ้น เช่น interleukin-6 มีผลยับยั้งการสังเคราะห์เอสโตรเจนจากเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสได้โดยตรง อย่างไรก็ตามการให้สารในกลุ่ม isoflavonoid เช่น genistein ไม่มีผลต่อการสังเคราะห์เอสโตรเจนจากเซลล์ประสาททั้งระยะพัฒนาและระยะชรา การทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการสังเคราะห์เอสโตรเจนลดลงในระยะชราโดยอาจเกิดจากการที่เซลล์ไมโครเกลียถูกกระตุ้นเป็นสาเหตุของการสูญเสียความจำและการเรียนรู้ที่พบในผู้สูงอายุ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1497 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2559_046.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น