กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1494
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorบุญเชิด หนูอิ่ม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:07Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:07Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1494
dc.description.abstractการเรียนรู้จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ แนวทาง เนื้อหา แนวคิดและปรัชญาพื้นฐานในการสร้างกระบวนการเรียนรู้จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา และเพื่อพัฒนาชุด การเรียนรู้การฝึกอบรมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา โดยใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 ระยะ ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการและพัฒนาแนวคิด ดำเนินการวิเคราะห์รูปแบบแนวทาง เนื้อหาแนวคิดและปรัชญาพื้นฐานในการสร้างกระบวนการเรียนรู้จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้ของพุทธปรัชญา ระยะที่ 2 พัฒนาชุดการเรียนรู้จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 ท่าน ระยะที่ 3 จัดกระบวนการสนทนากลุ่มในประเด็นชุดการเรียนรู้ ผู้เข้าร่วม จำนวน 10 ท่าน ผลการศึกษารูปแบบ แนวทางเนื้อหาแนวคิดและปรัชญาพื้นฐานในการสร้างกระบวนการเรียนรู้จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา พบว่าแนวคิดพื้นฐานเรื่องการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม จากจุดร่วมของแนวความคิด ทางพุทธปรัชญา และจิตตปัญญาศึกษา คือ เชื่อมั่นในศักยภาพของความเป็นมนุษย์การแสวงหาความรู้จึงต้องเริ่มที่ประสบการณ์ของตนเอง มีหลักธรรมพื้นฐาน เรื่องศีล เพื่อก่อให้เกิดความเมตตาและความรัก การเจริญสติวิปัสสนา การฝึกสมาธิ การพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การมองสรรพสิ่งด้วยใจที่เปิดกว้าง และเห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง สำหรับการพัฒนาชุดการเรียนรู้การฝึกอบรมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญา โดยใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา ได้กำหนเกระบวนการเรียนรู้ไว้ 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 คือ การตรวจสอบให้ได้ว่าสิ่งใดที่เป็นการเบียดเบียน ไม่ว่าต่อตนเอง ต่อผู้อื่น หรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว ให้ละลงเสีย นั่นคือสภาวะที่รู้และเข้าใจว่าอะไร สิ่งไหนที่เป็นกุศล และอะไร สิ่งไหนที่เป็นอกุศล โดยกำหนดชุดการเรียนรู้ค้นหาโลกภายใน ขั้นที่ 2 คือ การสร้างระบบการศึกษาที่ทำให้คนมีความสุขจากการที่ได้ให้ ได้รัก ได้เมตตา โดยกำหนดชุดการเรียนรู้ก่อเกิดโลกใบใหม่ ขั้นที่ 3 คือ การเฝ้ามองตามความเป็นจริง นั่นคือ การสร้างปัญญาให้เกิดขึ้น โดยกำหนดชุดการเรียนรู้หนึ่งเดียวกับจักรวาล แนวทางการสร้างชุด การเรียนรู้ยึดหลักตามจิตตปัญาศึกษาผ่านการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดสมาธิจากความสงบตั้งมั่นของร่างกายและจิตใจ ฝึกสังเกตและมีสติอยู่กับปัจจุบันในรูปแบบต่าง ๆ ก่อเกิดการใคร่ครวญภายใน มีความละเอียด อ่อนโยนประณีต สัมผัสการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสรรพสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยเสริมพลังด้วยพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผ่านจากอดีตสู่ปัจจุบันth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ประจำปีงบประมาณ 2556 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectจิตสำนึกth_TH
dc.subjectพุทธปรัชญาth_TH
dc.subjectสาขาปรัชญาth_TH
dc.titleการเรียนรู้จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาth_TH
dc.title.alternativeLearning Environmental awareness base on the buddhist philosophyen
dc.typeResearch
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeLearning Environmental Awareness based on Buddhist Philosophy aimed at analyzing the format, subject matter and fundamental philosophy. The learning process will be instilled as well as develop the training of environmental awareness education by using contemplative education. This is a qualitative research from study documents, in depth interview and focus group discussion by accumulating data in 3 phases. Phase 1: the preparation and mental development process. In this process, the collected data is analyzing based on the content. Idea and fundamental philosophy to create the learning process of environmental consciousness in order to go along with Buddhist philosophical learning process. Phase 2: the development of learning environmental awareness based on Buddhist philosophy by specialists when 4-participant. Phase 3: the 10-participant group discussion on learning keystones. The findings indicated that the fundamental idea of creating environmental awareness from the mutual point between Buddhist philosophy and contemplative educations is the belief in human potentiality. To seek knowledge, it is to start with own experiences, and ones should stick to fundamental of dhamma: precepts for mercy and love, Vipassan meditation, and mindfulness meditation. Cogitation, openness, and appreciation are needed as well. Environmental Awareness Development through Buddhist Philosophy Learning Kit, according with contemplative practices, sets 3 steps of learning process. The first step is to realize and abstain from any harm to others and surroundings, which is the state of merits-sin realization. In this step. The kit is designed to educate to search for internal world. The second step is to build an educational system that brings merciful givers happiness, that is, it is an educational system that builds up love and mercy. In this step, the Kit is designed to create a new world. The third is to observe truth, meaning that to initiate wisdom by stipulating the learning unit united with universe. The path to create the learning kit relies on the contemplative education though practice aiming to meditation calm down physically and mentally. Observation practicing and consciousness to present time in various ways initiates internal consideration as well as delicacy. It touches learning linked to factors and power reinforced by ritual practices from past to present.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_144.pdf16.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น