กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1489
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุนันทา โอศิริth
dc.contributor.authorพรรณภัทร อินทฤทธิ์th
dc.contributor.authorวรัมพา สุวรรณรัตน์th
dc.contributor.authorสถาพร บัวธราth
dc.contributor.authorพัชชาพลอย ศรีประเสริฐth
dc.contributor.authorมยุรี พิทักษ์ศิลป์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:07Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:07Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1489
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิจัยและพัฒนา (R & D) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย และพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย โดยใช้วิธีการจัดการความรู้ (KM) จัดทำแนวทางและคู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย และการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม “การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย” แบบองค์รวมตามหลักธรรมานามัยที่ประกอบ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย ดำเนินการฝึกอบรมแล้วประเมินผล ผู้เข้าร่วมโครงการรวมจำนวน 48 คน ประกอบด้วยกลุ่มผู้สูงอายุ 38 คน และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อาเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 10 คน การประเมินผลโดยการใช้แบบสอบถาม พบว่ากิจกรรมที่ผู้เข้าร้บการอบรมส่วนใหญ่ พึงพอใจในระดับมากที่สุด เป็นการทำอาหารเพื่อสุขภาพ กายบริหารท่าฤาษีดัดตน การนวดตนเอง การทำลูกประคบสด การสวดมนต์ การเดินจงกรม บทพิจารณาความตาย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้เข้ารับการอบรมสามารถมีส่วนร่วมได้ ส่วนเรื่องเกี่ยวกับ สุขภาพของผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การใช้สมุนไพร เศรษฐกิจพอเพียงแบบแพทย์แผนไทย คุณค่าของผู้สูงอายุในสังคมไทย ที่เป็นการบรรยายในนั้นผู้เข้าร้บการอบรมส่วนใหญ่พึงพอใจในระดับมาก พบว่าหลังการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.011) และการเห็นคุณค่าตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.009) การสัมภาษณ์ติดตามผลในระยะเวลา 2 เดือนหลังการอบรม พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก การอบรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน คือการดูแลสุขภาพให้กับตนเองและครอบครัว และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปเผยแพร่หรือช่วยเหลือผู้สูงอายุอื่นต่อไปได้อย่างบูรณาการ จึงสรุปได้ว่าคู่มือและหลักสูตรฝึกอบรม “การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย” ที่เป็นภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย สามารถนาไปใช้สร้างเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เห็นคุณค่าตนเองมากขึ้น สามารถนาไปเผยแพร่เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุอื่น และสามารถพัฒนาเป็นแกนนำอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุด้วยกันต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณเงินแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectการแพทย์แผนไทยth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectหลักธรรมานามัยth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทยth_TH
dc.title.alternativeThai traditional medicine health care of elderlyen
dc.typeResearch
dc.year2557
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_064.pdf4.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น