กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1482
ชื่อเรื่อง: | การดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังตามแนวทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส ปีที่ 1: ผลการประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Neuro-linguistic programming on mental health care of elderly with chronic IIIness; Saensuk municipality, Chon Buri, Thailand. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สรร กลิ่นวิชิต เวธกา กลิ่นวิชิต พวงทอง อินใจ พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง สุขภาพจิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง โดยการวัดระดับความเครียด และภาวะซึมเศร้า ประชากร คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคเรื้อรังและอยู่อาศัยในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี จำนวน 5,756 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจ์ซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 คน โดยใช้แบบวัดความเครียดของสวนปรุง (Suanprung Stress Test – 20, SPST - 20) และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย ( Thai Geriatric Depression Scale : TGDS) ทั้งนี้ ได้ผ่านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา เรียบร้อยแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที่ One way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาสุขภาพเรื่องโรคและการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่ มีปัญหาสุขภาพและภาวะเจ็บป่วย เกี่ยวกับโรคข้อเสื่อม / เก๊าท์ / รูมาตอยด์ / ปวดข้อ ร้อยละ 94.96 รองลงมาคือโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 75.66 2. ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ มีระดับความเครียด อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 56.75 (ค่าคะแนน 24-41 คะแนน) รองลงมา คือ มีระดับความเครียดสูง คิดเป็นร้อยละ 21.62 (ค่าคะแนน 42-61) มีความเครียดน้อย คิดเป็นร้อยละ 16.22 และมีความเครียดรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 5.41 (ค่าคะแนน 62 ขึ้นไป) 3. ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 70.27 และมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 29.73 โดนส่วนใหญ่มีความซึมเศร้าเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 18.92 รองลงมา มีความซึมเศร้าปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 8.11 และมีความซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 2.7 4. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังกับความเครียด พบว่า ปัจจัยด้านระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5. ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า 6. ความเครียดมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข เป็นชุมชนในเขตเมือง ซึ่งพบปัญหาภาวะสุขภาพจิตด้านความเครียดและภาวะซึมเศร้า ควรเร่งการดำเนินดูแลรักษาและให้เอาใจใส่เพื่อพัฒนาผู้สูงวัยในชุมชนให้สามารถปรับตัว มีความสุขและพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองให้ดีขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1482 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น