กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1479
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาโปรแกรมชุมชนเข้มแข็งและผลการพัฒนาต่อการจัดการสุขภาพประชาชนในเขตอุตสาหกรรม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development and effect of community empowerment program on community health management in industrial estate area |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยุวดี ลีลัคนาวีระ ฉันทนา จันทวงศ์ นิสากร กรุงไกรเพชร อริสรา ฤทธิ์งาม ปวีณา มีประดิษฐ์ แอนนา สุมะโน มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การจัดการสุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | สุขภาพ - - การจัดการ |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเชิงระบบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ โดยสามารถค้นคว้าและจัดเก็บข้อมูลเรื่องสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีระบบการเฝ้าระวังและการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยจากมลพิษ และมีเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน กิจกรรมหลักคือ 1) การคัดเลือกชุมชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังที่มีกลุ่มแกนนำชุมชนที่เข้มแข็งและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 3 ชุมชน 2) การประเมินความตระหนักด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยการสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้นำในชุมชน และกลุ่มประชาชนในชุมชน 3)การประสานงานและวางวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถานประกอบการต่างๆ 4) อบรมอาสาสมัครพิทักษ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน 5) การจัดทำโครงการพิทักษ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน 6) ดำเนินการตามโครงการและประเมินผลโครงการ ผลการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้นำชุมชน ประชาชน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบจากมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพ สามารถระบุประเภทและแหล่งที่มา รวมทั้งผลกระทบของมลพิษต่อสุขภาพได้สำหรับมลพิษประเภทฝุ่น 2) อาสาสมัครพิทักษ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ผ่านการอบรมจำนวน 34 คน มีความรู้สามารถจัดแผนงานโครงการเรื่องการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับผู้นำและประชาชนในชุมชนได้ โดยสามารถทำกิจกรรมที่สำคัญได้ดังนี้ (ก)การจัดทำแผนที่ชุมชนที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งที่อาจก่อปัญหามลพิษ กับการเจ็บป่วยด้วยโรคหรืออาการที่อาจเป็นผลจากมลพิษทางอากาศ ซึ่งผลการดำเนินการในเบื้องต้นพบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนการสำรวจประชาชนมีอาการหวัดมากที่สุดร้อยละ 11.0 รองลงมาคือ ไข้ ร้อยละ 3.8 อาการปวด/เวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ร้อยละ 2.0 และมีอาการทางผิวหนังประมาณร้อยละ 1.0 ซึ่งพบว่าอาการเจ็บป่วยเหล่านี้ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากสถานประกอบการใด (ข)สามารถตรวจปริมาณฝุ่นด้วยแผ่นสติกเกอร์ทุกวันในชุมชนๆ ละ 4-6 แห่ง (ค) สามารถประสานกับเทศบาลนครแหลมฉบังเพื่อตรวจคุณภาพอากาศในชุมชน และมีระบบการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพโดยชุมชนอย่างต่อเนื่องและนำมาเชื่อมโยงกับแหล่งที่อาจปล่อยมลพิษในชุมชน คุณภาพอากาศที่ตรวจโดยกรมควบคุมมลพิษอากาศและปริมาณฝุ่นที่ตรวจโดยชุมชน เพื่อการป้องกันและแก้ไข คาดว่าชุมชนจะสามารถดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำรูปแบบการพัฒนาโปรแกรมชุมชนเข้มแข็งต่อการจัดการสุขภาพในเขตอุตสาหกรรมไปขยายผลในชุมชนอื่นต่อไป และควรสนับสนุนให้ชุมชนที่ดำเนินการแล้วมีการเฝ้าระวังสุขภาพด้วยการสังเกตุและบันทึกอาการเจ็บป่วยของตนเองและสมาชิกในครัวเรือนเป็นประจำ พร้อมทั้งเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมด้วยการวัดปริมาณฝุ่นด้วยแผ่นสติกเกอร์ กับการติดตามวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษอย่างต่อเนื่อง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1479 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_078.pdf | 249.78 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น