กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1469
ชื่อเรื่อง: | ศักยภาพของสารสกัดจากดอกบัวสายที่ผ่านกระบวนการสกัดแบบต่าง ๆ ต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิก ปริมาณฟลาโวนอยด์ ปริมาณแอนโทไซนานิน ปริมาณโปรแอนดทไซยานิดินและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Potential of water lily flower extracts in various extraction on total phenolic, flavonoid, anthocyanin, proanthocyanidin contents and antioxidants activities. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร |
คำสำคัญ: | ดอกบัวสาย สารต้านอนุมูลอิสระ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | คณะเทคโนโลยีการเกษตร. มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้ศึกษาถึงปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ฟลาโวนอยด์ และโปรแอนโท ไซยานิดิน ปริมาณแอนโทไซนานิน รวมถึงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากส่วนของดอกบัวสายสีแดงที่สกัดด้วยเอทานอล และจากการหมักด้วยเชื้อยีสต์ Saccharomyces cerevisiae พบว่าในสารสกัดดอกบัวสายสีแดงที่สกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 60 มีศักยภาพในการสกัดทั้งในด้านปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด และเมื่อนำมาสกัดดอกบัวสีเหลืองและสีม่วงน้ำเงิน พบว่าดอกบัวสีแดงให้ปริมาณของสารประกอบฟีนอลอกทั้งหมดสูงที่สุด เท่ากับ 17.22+-1.14 mg gallic acid/g sample ส่วนดอกบัวสีเหลืองให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด ที่วัดด้วยวิธี DPPH และ ABTS เท่ากับ 24.01+-2.02 mg Vit C/g sample และ 60.17+-6.37 mg Trolox/g sample ตามลำดับ ระดับความเข้มข้นของเอทานอลไม่มีผลต่อปริมาณฟลาโวนอยด์ปริมาณแอนโทไซยานินและโปรแอนโทไซยาดินในสารสกัดกลีบดอกบัวสายสีแดง และผลจากการหมักดอกบัวสายสีแดงด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae สายพันธุ์ Burgundy พบว่า การหมักมีแนวโน้มคงที่ทั้งในด้านปริมาณของสารฟีนอลิกทั้งหมดและสารการต้านอนุมูลอิสระ โดยไม่พบความแตกต่างทางสถิติในระหว่างการหมักตั้งแต่การเริ่มต้นการหมักและวันสุดท้ายของของการหมัก แต่อย่างไรก็ตามดอกบัวสายยังคงเป็นพืชที่มีความน่าสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระหากมีการนำไปประยุกต์ใช้ให้ถูกวิธีจะเป้นการสรา้งมูลค่ามูลค่าเพิ่มให้กับพืชพื้นบ้านในอีกทางหนึ่ง This research emphasized the contents of phenolic, flavonoid, anthocyanin, proanthocyanidin and antioxidant activities of water lily flower extracts. The water lily flower extraction was performed in the ethanolic methods and yeast fermentation method. The 60% ethanolic is the better than other in total phenolic contents and antioxidant properties. The condition was used in extraction in various colors of lily flower, red, yellow, and blue. The result shown that red lily flower has the highest total phenolic content, 17.00+-1.14 mg gallic acid/g sample. However, the yellow lily flower has the highest antioxidant activities that were evaluated by DPPH and ABTS method, 24.01+-2.02 mg VitC/g sample and 60.17+-6.37 mg Trolox/g. sample, respectively. The various concentration of ethanol does not have impact to flavonoid. anthocyanin, proanthocyanidin contents. For the fermentation method, the water lily was fermented by Saccharomyces cerevisiae in various total soluble solid contents. The result show that the yeast growth normally but the profile of total phenlic content and antioxidant activity does not change during fermentation. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1469 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_169.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น