กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/146
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสารปรอทในดินตะกอนและน้ำบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Transformation of mercury in the sediment-water system of the Map Ta Phut industrial estate
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: แววตา ทองระอา
ฉลวย มุสิกะ
วันชัย วงสุดาวรรณ
อาวุธ หมั่นหาผล
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: การตกตะกอนชายฝั่ง - - มาบตาพุด (ระยอง) - - วิจัย
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม - - มาบตาพุด (ระยอง) - - วิจัย
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด - - วิจัย
น้ำเสีย - - การวิเคราะห์ - - วิจัย
ปรอท - - การวิเคราะห์ - - วิจัย
มลพิษทางน้ำ - - มาบตาพุด (ระยอง) - - วิจัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล - - วิจัย
มาบตาพุด (ระยอง) - - วิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
โลหะหนัก - - การวิเคราะห์ - - วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับ พฤติกรรม และเส้นทางเดินของสารปรอทในดินตะกอนและน้ำบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยศึกษาการกระจายของสารปรอท ในน้ำและดินตะกอน ศึกษารูปแบบทางธรณีเคมีของสารปรอทในดินตะกอน และปริมาณปรอทที่สามารถเข้าสู่สิ่งมีชีวิตได้ กระบวนการดูดซับและการปลดปล่อยสารปรอทโดยดินตะกอน รวมทั้งปริมาณปรอทที่สะสมอยู่ในสัตว์ทะเล ผลการศึกษาปริมาณปรอทรวมในน้ำทะเลจำนวน 8 สถานี พบว่ามีค่าน้อยมากทั้งในฤดูแล้ง (มีนาคม 2546) และฤดูฝน (ตุลาคม 2546) และต่ำกว่าค่ามาตราฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งของไทยหลายเท่า กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยนที่พบในฤดูแล้งและฤดูฝนอยู่ระหว่าง 2.42-5.67 และ 1.52-11.77 ng L ตามลำดับ ปริมาณปรอทรวมในน้ำมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำซึ่งวัดในรูปของ Fluorescence unit สำหรับปริมาณปรอทรวมในดินตะกอนในฤดูแล้ง พบว่า มีค่าอยู่ระหว่าง 0.006 – 0.130 ug g น้ำหนักแห้ง และหน้าฝนมีค่าอยู่ระหว่าง <0.0023 – 0.224 ug g น้ำหนักแห้ง ซึ่งค่าสูงสุดที่ตรวจพบว่าสูงกว่ามาตราฐานของสารปรอทในดินตะกอนของบางประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่า ปรอทรวมในดินตะกอนมีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูงมากกับออกไซด์ของเหล็ก แสดงว่าออกไซด์ของเหล็กทำหน้าที่เป็นตัวดูดซึมหลักที่อยู่มนดินตะกอนนี้ และจากการศึกษาปริมาณปรอทที่สามารถเข้าสู่สิ่งมีชีวิตได้ พบว่าส่วนใหญ่มีค่าน้อยกว่า 10 % ของปริมาณปรอทรวม และค่าสูงสุดซึ่งพบในฤดูฝนมีค่าไม่เกิน 22 % โดยสอดคล้องกับผลการศึกษารูปแบบทางธรณีเคมีของสารปรอทส่วนใหญ่ในดินตะกอน ซึ่งพบว่ามีอยู่สองรูปแบบที่สำคัญ คือ รูปที่จับรวมตัวกับสารอินทรีย์และซัลไฟด์ และรูปแบบที่อยู่ในโครงสร้างของแร่ธาตุในดิน ซึ่งรูปแบบที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตหรือมีแต่น้อยมาก ส่วนการสะสมสารปรอทในสัตว์ทะเลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ยังคงอยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค การศึกษากระบวนการดูดซับและปลดปล่อยสารปรอทโดยดินตะกอนที่ความเค็ม 4 ระดับ คือ 0 15 30 และ 45 psu โดยใช้เทคนิค batch equilibration ผลการศึกษา พบว่าการดูดซึมจะลดลงเมื่อความเข้มข้นของสารปรอทสูงขึ้นโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อดินตะกอนด้วย ความเค็มไม่มีผลต่อการดูดซับยกเว้นที่ความเค็ม 45 psu มีแนวโน้มทำให้การดูดซับสารปรอทที่มีความเข้มข้นสูง ๆ ลดลงจากความเค็มระดับอื่น ๆ และปรอทที่ถูกดูดซับไว้ไม่สามารถปลดปล่อยออกจากดินตะกอนได้ทั้งหมด นอกจากนี้พบว่าความเค็ม ไม่มีผลการปลดปล่อยสารปรอทออกจากดินตะกอนด้วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/146
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
viewobj (9)2.55 MBUnknownดู/เปิด
197493.pdf2.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น