กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/146
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | แววตา ทองระอา | th |
dc.contributor.author | ฉลวย มุสิกะ | th |
dc.contributor.author | วันชัย วงสุดาวรรณ | th |
dc.contributor.author | อาวุธ หมั่นหาผล | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:45:52Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:45:52Z | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/146 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับ พฤติกรรม และเส้นทางเดินของสารปรอทในดินตะกอนและน้ำบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยศึกษาการกระจายของสารปรอท ในน้ำและดินตะกอน ศึกษารูปแบบทางธรณีเคมีของสารปรอทในดินตะกอน และปริมาณปรอทที่สามารถเข้าสู่สิ่งมีชีวิตได้ กระบวนการดูดซับและการปลดปล่อยสารปรอทโดยดินตะกอน รวมทั้งปริมาณปรอทที่สะสมอยู่ในสัตว์ทะเล ผลการศึกษาปริมาณปรอทรวมในน้ำทะเลจำนวน 8 สถานี พบว่ามีค่าน้อยมากทั้งในฤดูแล้ง (มีนาคม 2546) และฤดูฝน (ตุลาคม 2546) และต่ำกว่าค่ามาตราฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งของไทยหลายเท่า กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยนที่พบในฤดูแล้งและฤดูฝนอยู่ระหว่าง 2.42-5.67 และ 1.52-11.77 ng L ตามลำดับ ปริมาณปรอทรวมในน้ำมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำซึ่งวัดในรูปของ Fluorescence unit สำหรับปริมาณปรอทรวมในดินตะกอนในฤดูแล้ง พบว่า มีค่าอยู่ระหว่าง 0.006 – 0.130 ug g น้ำหนักแห้ง และหน้าฝนมีค่าอยู่ระหว่าง <0.0023 – 0.224 ug g น้ำหนักแห้ง ซึ่งค่าสูงสุดที่ตรวจพบว่าสูงกว่ามาตราฐานของสารปรอทในดินตะกอนของบางประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่า ปรอทรวมในดินตะกอนมีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูงมากกับออกไซด์ของเหล็ก แสดงว่าออกไซด์ของเหล็กทำหน้าที่เป็นตัวดูดซึมหลักที่อยู่มนดินตะกอนนี้ และจากการศึกษาปริมาณปรอทที่สามารถเข้าสู่สิ่งมีชีวิตได้ พบว่าส่วนใหญ่มีค่าน้อยกว่า 10 % ของปริมาณปรอทรวม และค่าสูงสุดซึ่งพบในฤดูฝนมีค่าไม่เกิน 22 % โดยสอดคล้องกับผลการศึกษารูปแบบทางธรณีเคมีของสารปรอทส่วนใหญ่ในดินตะกอน ซึ่งพบว่ามีอยู่สองรูปแบบที่สำคัญ คือ รูปที่จับรวมตัวกับสารอินทรีย์และซัลไฟด์ และรูปแบบที่อยู่ในโครงสร้างของแร่ธาตุในดิน ซึ่งรูปแบบที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตหรือมีแต่น้อยมาก ส่วนการสะสมสารปรอทในสัตว์ทะเลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ยังคงอยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค การศึกษากระบวนการดูดซับและปลดปล่อยสารปรอทโดยดินตะกอนที่ความเค็ม 4 ระดับ คือ 0 15 30 และ 45 psu โดยใช้เทคนิค batch equilibration ผลการศึกษา พบว่าการดูดซึมจะลดลงเมื่อความเข้มข้นของสารปรอทสูงขึ้นโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อดินตะกอนด้วย ความเค็มไม่มีผลต่อการดูดซับยกเว้นที่ความเค็ม 45 psu มีแนวโน้มทำให้การดูดซับสารปรอทที่มีความเข้มข้นสูง ๆ ลดลงจากความเค็มระดับอื่น ๆ และปรอทที่ถูกดูดซับไว้ไม่สามารถปลดปล่อยออกจากดินตะกอนได้ทั้งหมด นอกจากนี้พบว่าความเค็ม ไม่มีผลการปลดปล่อยสารปรอทออกจากดินตะกอนด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2546-2547 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา | en |
dc.publisher | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การตกตะกอนชายฝั่ง - - มาบตาพุด (ระยอง) - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม - - มาบตาพุด (ระยอง) - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | น้ำเสีย - - การวิเคราะห์ - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | ปรอท - - การวิเคราะห์ - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | มลพิษทางน้ำ - - มาบตาพุด (ระยอง) - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | มาบตาพุด (ระยอง) - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช | th_TH |
dc.subject | โลหะหนัก - - การวิเคราะห์ - - วิจัย | th_TH |
dc.title | การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสารปรอทในดินตะกอนและน้ำบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด | th_TH |
dc.title.alternative | Transformation of mercury in the sediment-water system of the Map Ta Phut industrial estate | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2548 | |
dc.description.abstractalternative | This study attempts to provide a better understanding of the behavior and fate of mercury (Hg) in the sediment-water system of the Map Ta Phut industrial estate, Rayong Province. It was designed to include Hg distribution in the water and sediments, its geochemical and bioavailable form of the sediments and adsorption-phenomena by the sediments as well as the accumulation of Hg in marine animals. The samples of water and sediments collected from 8 station in the dry (March 2003) and wet (October 2003) season were analyzed for total Hg. The average concentration of water Hg ranged from 2.42 – 5.67 and 1.52 – 11.77 ng L-1 for the dry and wet seasons, respectively. Those were still within Thai coastal water quality standard. The water Hg showed a positive correlation with DOC fluorescence. Total Hg in the sediments ranged from 0.006 – 0.130 and <0.0023 – 0.224 µg g-1 weight for the dry and wet seasons, respectively. The highest concentration obtained exceeded the acceptable levels of sediment Hg set in some countries. Also, the sediment Hg showed a strongly positive correlation with Fe oxides suggesting that Fe oxides was a major adsorbent in the sediments studied. Fractionation of Hg in the sediments indicated that the major geochemical form were 1) bound to organic matter and sulfide and 2) residual fractions which were unlikely to be bioavailable. This result agreed with a direct with a direct analysis of bioavailable Hg which mostly gave very low concentrations (<10% of total Hg) and the maximum concentrations found in the wet season were not more than 22 % of total Hg. In addition, total Hg in tissue of marine animals collected from the surrounding area of the industrial estate was found to be within Thai nation standard for food consumption. In order to understand Hg adsorption capacity and its remobilization in the sediments. Hg adsorption and desorption experiments were conducted at 4 salinities of 0, 15, 30 and 45 psu using a batch equilibration technique. The adsorption of Hg decreased with increasing the intial Hg concentration, but also depended on the sediment texture. Salinity had no the adsorption and desorption, except a slight decrease of Hg adsorption at high initial Hg concentrations was observed at 45 psu salinity. Adsorption and desorption characteristic of the sediments indicated Hg was irreversible adsorbed. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
viewobj (9) | 2.55 MB | Unknown | ดู/เปิด | |
197493.pdf | 2.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น