กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1447
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorประจักษ์ น้ำประสานไทย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:04Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:04Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1447
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ใช้การวิจัยเอกสารและการวิจัยเชิงสำรวจผ่านกลุ่มตัวอย่างเป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ 6 ประการ คือ (1) เพื่อสำรวจประเภทของบริการสังคมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกจัดให้แก่ประชาชนในพื้นที่ (2) เพื่อสำรวจความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเห็นว่ามีอิทธิพลต่อการจัดการบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ (3) เพื่อสำรวจวิธีการที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกใช้ในการจัดการบริการสังคมที่อยู่ความรับผิดชอบ (4) เพื่อสำรวจความเห็นต่อประเด็นที่ผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกคิดว่าเป็นปัญหาและอุปสววคต่อการจัดการบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ (5) เพื่อสำรวจความพึงพอใจที่ผู้รับหรือผู้ใช้บริการมีต่อบริการสังคมขององค์กรปกครองท้องถิ่นภาคตะวันออก และ (6) เพื่อวิเคาระห์แนวคิดในการจัดบริการสังคมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก ได้ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะพอสรุป ดังนี้ ผลการศึกษา งานวิจัยนี้ได้ผลการศึกษาประเภทของบริการสังคมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกจัดให้แก่ประชาชนพื้นที่ ปัจจัยที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเห็นว่ามีอิทธิพลต่อการจัดการบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ วิธีการที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกใช้ในการจัดการบริหารสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ ประเด็นที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกคิดว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ ความพึงพอใจที่ผู้รับหรือใช้บริการมีต่อบริการสังคมขององค์กรปกครองท้องถิ่นภาคตะวันออก และแนวคิดในการจัดบริการสังคมของผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 1.ประเภทของบริการสังคมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกจัดให้แก่ประชาชนในพื้นที่บริการสังคมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจัดให้แก่ประชาชนในพื้นที่มากที่สุดคือ บริการสังคมประเภทการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รองลงมาได้แก่ บริการสังคมประเภทสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน อาทิ น้ำประปา ถนน ไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณพื้นที่สาธารณะ บริการสังคมประเภทการช่วยเหลือ การสงเคาระห์ผู้ประสบเดือดร้อน บริการสังคมประเภทารพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน บริการสังคมประเภทการส่งเสริมกีฬา บำรุงการกีฬา บริการสังคมประเภทการส่งเสริมการศึกษา บริการสังคมประเภทการจัดการศึกษารวมทั้งการส่งเสริมการศึกษา บริการสังคมประเภทการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล บริการสังคมประเภทการพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรี และการบริการสังคมประเภทการจัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ บริการสังคมประเภทการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่ บริการสังคมประเภทกิจกรรมนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจบริการสังคมประเภทารจัดหางาน บริการข่าวสารแรงงาน บริการสังคมประเภทการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประสบปัญหาสังคม และที่จัดให้แก่ประชาชนพื้นที่น้อยที่สุดคือบริการสังคมประเภทการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด 2.ปัจจัยที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเห็นว่ามีอิทธิพลต่อการจัดการบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ ปัจจัยที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกซึ่งกลุ่มตัวอย่างเห็นว่ามีอิทิพลต่อการจัดการบริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านความต้องการและความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ รองลงมาคือ ปัจจัยด้านงบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหรือได้รับ ปัจจัยด้านข้อกำหนดของกฎหมายและระเบียบปฎิบัติของระบบราชการ ปัจจัยด้านภาวะเศษฐกิจของสังคม/ชุมชน ปัจจัยด้านข้อกำหนดด้านนโยบายของรัฐบาล ปัจจัยด้านอุดมการณ์คววามคิด ความเชื่อของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจัยด้านสภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ปัจจัยด้านผู้ว่าราชการจังหวัด/ นายอำเภอที่องค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นตั้งอยู่ ปัจจัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปัจจัยด้านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ และที่เห็นว่ามีอิทธิพลน้อยที่สุดคือปัจจัยด้านหลักการ คำสอนทางศาสนา 3.วิธีการที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกใช้ในการจัดการบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ วิธีการที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างใช้จัดการบริการสังคมที่รับผิดชอบมากที่สุดคือ วิธีการนำเอาความพึงพอใจและความต้องการของผู้รับหรือใช้บริการมาเป็นศูนย์กลางการปฎิบัติงาน รองลงมาคือ วิธีการปรับการบริหารจัดการให้มีความสอดคล้อง สมดุลกับปัจจัยแวดล้อม/สถานการณ์อย่างเป็นระบบ วิธีการลดความเป็นระบบราชการลงด้วยการปรับโครงสร้างองค์กรและระบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้เกิดผลงานมากกว่ายึดกระบวนการที่เยิ่นเย้อ วิธีการบริหารจัดการบนพื้นฐานของความไว้วางใจและการปรับตัวเข้าหากันมากกว่าการสั่งการ บริหารจัดการตามกฏ ระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด วิธีการให้ความสำคัญกับระบบเครือข่ายซึ่งเป็นการบริหารจัดการในแนวราบที่ให้เครือข่ายกำกับดูแลตนเองไม่ใช่การควบคุมจากศูนย์กลาง วิธีการให้ผู้ปฎิบัติงานรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวเพื่อป้องกันมิให้เกิดความสับสนในคำสั่ง วิธีการให้ความสำคัญกับกลุ่มคนชายขอบที่ด้อยโอกาส ถูกสังคมปิดกั้น และที่ใช้น้อยที่สุดคือการรวมอำนาจไว้ที่จุดศูนย์กลางเพื่อให้การควบคุมส่วนต่างๆขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 4.ประเด็นที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกคิดว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดบริการสังคมที่อยู่ในความรับผิดชอบ สิ่งทีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการบริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากที่สุดคือ ปัญหาการขาดงบประมาณไม่เพียงพอ รองลงมาคือ ปัญหาความยุ่งยากซับซ้อน ไม่ชัดเจนของกฎหมาย ระเบียบปฎิบัติที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามรถ ปัญหาการไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน/ชุมชนในพื้นที่ ปัญหาการไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง ปัญหาการไม่มีอำนาจอย่างแท้จริงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาความไม่สมบรูณ์ของข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการปัญหาความขัดแย้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาการถูกแทรกแซงจากอิทธิพลภายนอกและที่เห็นว่าเป็นปัญหาน้อยที่สุดคือการทุจริต ฉ้อราษฏร์บังหลวง 5.ความพึงพอใจที่ผู้รับหรือใช้บริการมีต่อบริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกประกอบด้วยความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการและความพึงพอใจที่มรต่อตัวบริการสังคม 5.1ความพึงพอใจที่ผู้รับหรือใช้บริการมีต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้รับหรือใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก การปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และกระบวนการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ • ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเรื่องที่จดอรถสำหรับผู้มารับบริการสูงสุด รองลงมากคือความพึงพอใจเรื่องความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ ความพึงพอใจเรื่องป้ายและเอกสารประชาสัมพันธ์ต่างๆความพึงพอใจเรื่องที่นั่งคอยรับบริการตามจุดต่างๆความพึงพอใจเรื่องบริการถ่ายเอกสารสำหรับผู้มารับบริการ ความพึงพอใจเรื่องห้องน้ำสำหรับผู้มารับบริการ ความพึงพอใจเรื่องดทรทัศน์/หนังสือพิมพ์ ณ จุดที่ผู้รับบริการนั่งคอย ความพึงพอใจเรื่องบริการน้ำดื่มพร้อมภาชนะใส่ถูกสุขลักษณะ ความพึงพอใจเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือเรื่องโทรศัพท์สาธารณะ • ด้านการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเรื่องที่ความตรงต่อเวลาสูงสุด รองลงมาคือความพึงพอใจเรื่องมารยาท ความสุภาพและการเอาใจใส่ ความพึงพอใจเรื่องการให้ความสำคัญต่อผู้รับบริการ ความพึงพอใจเรื่องการให้คำแนะนำและการตอบข้อซักถามผู้รับบริการ และความพึงพอใจเรื่องความพร้อมและความกระตือรือร้นในการให้บริการ • ด้านกระบวนการให้บริการ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการทราบสิทธิ์ ข้อมูลข่าวสารสูงสุด รองลงมาได้แก่ ความพึงพอใจเรื่องการจัดลำดับก่อน-หลังในการให้ผู้รับบริการ ความพึงพอใจเรื่องขั้นตอนของการให้บริการความพึงพอใจเรื่องเอกสารหลักฐานที่ผู้รับบริการต้องจัดเตรียม ความพึงพอใจเรื่องแบบฟอร์มที่ผู้รับบริการต้องกรอก ความพึงพอใจเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการ ความพึงพอใจเรื่องความรวดเร็วในการให้บริการ และที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือเรื่องการนำความคิดเห็นผู้รับบริการไปปรับปรุงงาน 5.2ความพึงพอใจที่ผู้รับบริการหรือใช้บริการมีต่อตัวบริการสังคมขององค์กรปกครองท้องถิ่นภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อบริการสังคมปรเภทต่างๆขององค์กรปกครองท้องถิ่นภาคตะวันออกระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเกี่ยวกับการส่งเสริมกีฬา บำรุงรักษาการก๊ฬาสูงสุด รองลงมาคือความพึงพอใจเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน อาทิ น้ำประปา ถนน ไฟฟ้า ส่องสว่างบริเวณที่สาธารณะ ความพึงพอใจเกี่ยวกับสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล ความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ ความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ความพึงพอใจเกี่ยวกับการช่วยเหลือ การสงเคาระห์ผู้ประสบความเดือดร้อน ความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวตเด็กและเยาวชน ความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวติสตรี ความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดหารงาน บริการข่าวสารแรงงาน ความพึงพอใจเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประสบปัญหาสังคม ความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ความพึงพอใจเกี่ยวกับการพพัฒนาใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทุพพลภาพและผู้ดอยโอกาศ ความพึงพอใจเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด 6.แนวคิดในการจัดบริการสังคมชองผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีแนวคิดการจัดบริการสังคมสอดคล้องกับ 3 แนวคิดหลัก คือ แนวคิดแบบสังคมประชาธิปไตยที่สนับสนุนรัฐสวัสดิการที่สมบรูณ์แบบเหมือนประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียเพื่อให้เกิดการจัดสรรปันส่วนผลประโยชน์ต่างๆของสังคมอย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างทั่งถึงโดยไม่ต้องตรวจสอบ แนวคิดแบบสายกลางที่ยอมรับระบบตลาดเสรีและระบบทุนนิยมทำให้เศษฐกิจเติบโตดีและเป็นสิ่งจำเป็นสหำรับประชาชนในสังคม ขณะเดียวกันระบบดังกล่าวก็สร้างความไม่เป็นธรรม เป็นระบบที่มือใครยาวสาวได้สาวเอา ดังนั้นรัฐพึงมีบทบาทอย่างสำคัญในการจัดให้มีสวัสดิการเพื่อสงเคาระห์ประชาชนอย่างเหวี่ยงแห ภาระค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงมาก จนผู้ประสบปัญหาเดือดร้อนจริงๆได้รับความช่วยเหลือได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้คนที่เดือดร้อนจริงขาดความรับผิดชอบ ไม่ยอมพึ่งตนเอง คอยแต่จะรอคอยความช่วยเหลือ โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นสอดคล้องกับแนวคิดสังคมประชาธิปไตยมากที่สุด ข้อเสนอแนะ งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล/นักการเมือง ข้อเสนอแนะต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยทางการจัดการสังคม และข้อเสนอแนะสำกรับสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านการจัดการบริการสังคม ดังนี้ 1.ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล/ นักการเมือง งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะในเรื่องการปรับปรุง แก้ไข กฎหมายและระเบียบปฎิบัติ การจัดสรรรายได้ การกำหนดนโยบายสังคม/สวัสดิการสังคม และการควบคุมมาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคมบริการ ดังนี้ • รัฐบาลควรเป็นเจ้าภาพในการจัดประสานกับฝ่ายนิติบัญญัติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการพิจารราปรับปรุง แก้ไขกฎหมายและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม/ บริการสังคมไม่ชัดเจน ยุ่งยาก ซับซ้อน ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • รัฐบาลควรจัดสรรรายได้ งบประมาณรวมถึงการจัดแบ่งสัดส่วนภาษีกากรตลอดจนระบบเงอนอุดหนุนให้เหมาะสมสอดคล้องกับภากิจด้านสวัสดิการสังคม/บริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะปัจจุบันยังปรากฎว่า งบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหรือได้รับยังคงไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับหน้าที่และภารกิจตามนโยบายรัฐบาล นอกจากนี้ ยังประสบกับปัญหาการได้รับเงินโอนล่าช้าทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยใช้เงินอื่นสำรวจจ่ายไปก่อน ปัญหาด้านงบประมาณจึงเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคม/บริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • นโยบายสังคม/สวัสดิการสังคมของรัฐบาลควรเป็นนโยบายที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตามฐานะคลังและกรอบวินัยทางการงเงิน มากกว่าที่จะเป็นนโยบายสังคม/สวัสดิการสังคมปบบประชานิยมที่ใช้จ่ายงบประมาณเพื่อแสวงหาคะแนนนิยมทางการเมืองและผลประโยชน์ส่วนบุคคลของนักการเมือง • รัฐควรสร้างให้มีระบบหรือกระบวนการควบคุมมาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคม/บริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อประชาชนจะได้รับบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้น • รัฐบาลควรเร่งขจัดความไม่เท่าเทียมกันทางโอกาส เพื่อให้ทุกคนสามารถยกฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมได้โดยที่ไม่ต้องทำสิ่งผิดกฎหมาย ทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือสินเชื่อเพื่อทำกิจกรรมที่เป็นของตนเอง และมีโอกาสในการมีงานทำบนพื้นฐานความรู้ความสามรถ 2.ข้อเสนอแนะต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะด้านการบริหารจัดการ และด้านการคลังและงบประมาณ ดังนี้ • ด้านการบริหารจัดการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรนำเอามาตรฐานการจัดบริการสวัสดิการสังคมที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติได้มาประยุกต์ใช้ในการจัดการบริการสังคม โดยให้ความสำคัญที่กระบวนการแปรสภาพขององค์การใน 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านการให้บริการ และองค์ประกอบด้านคุณภาพการให้บริการ ดังนี้ - การปฏิบัติงานด้านการจัดองค์การและบริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย วัตถุประสงค์ ขอบเขต เป้าหมาย สาขาการจัดสวัสดิการสังคม โครงสร้างและกระบวนการบริหารจัดการแผนงาน โครงการ ระบบการพัฒนาบุคลากร ระบบบัญชีและการเงิน ระบบข้อมูลสารสนเทศและการประชาสัมพันธ์ ระบบติดตามประเมินผล อาคารสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน โดยยึดหลักธรรมาภิบาล - การปฏิบัติงานด้านการให้บริการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรกำหนดรูปแบบและวิธีการในการให้บริการ มีกระบวนการให้บริการ การวางแนวปฏิบัติงานตามกระบวนการให้บริการ การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร และสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเต็มที่ - การปฏิบัติงานด้านคุณภาพการให้บริการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรกำหนดให้มีรูปแบบการให้บริการ กระบวนการให้บริการ การวางแนวปฏิบัติตามกระบวนการให้บริการ การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร และสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการัจดสวัสดิกรสังคม/บริการสังคม เป็นองค์ประกอบในการปฏิบัติงาน • ด้านการคลังและงบประมาณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเร่งพัฒนาศักยภาพด้านการคลังและงบประมาณของตนให้มีประสิทธิภาพด้านการจัดหารายได้ ประสิทธิภาพการจัดหารายได้ ประสิทธิภาพการเจดเก็บภีอากรให้มากยิ่งขึ้นจนสามรถพึ่งตนเองได้อย่างสมบรูณ์ในอนาคต 3.ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยทางการจัดการบริการสังคม งานวิจัยนี้มีเสนอแนะสำหรับการวิจัยด้านบริการสังคมที่จัดให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดบริการสังคมด้านวิธีการที่ใช้ในการจัดการบริการสังคม ด้านปัญหาและอุปสรรคในการจัดบริการสังคม ด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ และด้านแนวคิดในการจัดบริการสังคม ดังนี้ • ด้านบริการสังคมที่จัดให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ควรมีการศึกษาว่า - ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องการจัดให้มีบริการสังคมได้ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบรูณ์หรือไม่? - อะไรคือสาเหตุแท้จริงที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามรถจัดให้มีบริการสังคมตามกฎหมายที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น? - ที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกระบุว่าไม่มีงบประมาณหรืองบประมาณในการจัดให้มีสวัสดิการสังคม/บริการสังคมไม่เพียงพอนั้นจริงหรือไม่? - เหตุใดชุมชนบางแห่งที่ไม่เคยได้รับงบประมาณสนับสนุนใดๆจากรัฐจึงสมารถจัดสวัสดิการชุมชนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพได้? - เหตุใดจึงมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกจัดให้มีบริการสังคมด้ารการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดน้อยมาก?ปัญหา อุปสรรคเรื่องนี้คืออะไร? - ทำอย่างไรจึงจะทำให้ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการสังคม/บริการสังคมได้ทั่วถึง? • ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการบริกรสังคม ควรมีการศึกษาว่า - การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกจำวนวหนึ่งไม่ได้จัด/สามรถจัดให้มีบริการสังคมแก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครบถ้วนนั้น เป็นอุปสรรคเชื่อมโยงมาจากปัจจัยด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ข้อกำหนดของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของระบบราชการที่ยุ่งยากซับซ้อนไม่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละท้องถิ่น ตลอดจนภาวะเศษฐกิจของสังคม ชุมชนที่ไม่เออำนวยหรือไม่?ถ้าใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคจะวันออกควรแก้ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยเหล่านี้ด้วยวิธีการใด? - การมีหรือไม่มีบริการสังคมแก่ประชาชนในพื้นที่ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีงบประมาณอย่างเพียงพอเท่านั้นใช่หรือไม่? • ด้านวิธีการที่ใช้ในการจัดบริการสังคม ควรมีการศึกาว่า - การนำเอาความพึงพอใจและความต้องการของผู้รับบริการมาเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกบางแห่งจนประสบความสำเร็จนั้นทำอย่างไร? - การบริหารจัดการให้มีความสอดคล้อง สมดุลกับปัจจัยแวดล้อม/สถานการณ์อย่างเป็นระบบ วิธีการลดความเป็นระบบราชการลงด้วยการปรับโครางสร้างองค์กรและระบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้เกิดผลงานมากกว่ายึดกระบวนการที่เยิ่ยเย้อนั้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องเปิดช่องให้ทำได้หรือไม่?ถ้าได้ทำอย่างไร? - มาตรฐานการจัดบริการสวัสดิการสังคมที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติได้วางข้อกำหนดไว้ เหมาะที่จะนำมาใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่?ถ้าเหมาะสมองค์กรส่วนท้องถิ่นจะมีแนวทาง/วิธีการที่จะนำมาตรฐานการจัดบริการสวัสดิการสังคมที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติได้วางข้อกำหนดไว้มาประยุกต์ใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร? - จะส่งเสริมความเข้มแข็งด้านการจัดการบริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นองค์กรหลักด้านความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่ได้อย่างไร? - จะควบคุมมาตรฐานของการจัดสวัสดิการสังคม/บริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพได้อย่างไร? • ด้านปัญหาและอุปสรรคในการจัดบริการสังคม ควรมีการศึกษาว่า - ปัญหาการขาดงบประมาณหรืองบประมาณไม่เพียงพอขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งนั้นมีสาเหตุมาจกอะไร? องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีปัญหาการขาดงบประมาณหรืองบประมาณไม่เพียงพอควรแก้ปัญหานี้อย่างไร? - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพัฒนาศักยภาพด้านการคลังและงบประมาณให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยไม่ผลักภาระให้กับประชาชนในท้องถิ่นจนเกินสมควรได้อย่างไร? - ความยุ่งยากซับซ้อน ไม่ชัดเจนของกฎหมาย ระเบียบปฎิบัติที่เกี่ยวข้องจนเป็นอุปสรรคต่องานด้านสวัสดิการสังคม/บริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นความยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่ชัดเจนของกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติอะไร? ยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่ชัดเจนตรงไหน?ด้วยวิธีการใด?โดยใคร? - ชุดคู่มือการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม/บริการสังคมที่ผู้ปฏิบัติงานของท้องถิ่นใช้นั้นมีความชัดเจน เหมาะสม และครอบคลุมภารกิจงานด้านสวัสดิการสังคม/บริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่?ต้องแก้ไขเพิ่มเติมอะไรบ้าง?โดยใคร? - ทำไมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกกว่าร้อยละ 50 จึงยังมีปัญหาการไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน/ชุมชนในพื้นที่?ทั้งที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าได้นำเอาความพึงพอใจและความต้องการของผู้รับบริการมาเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงาน • ด้านความพึงพอใจของผู้รับหรือใช้บริการควรมีการศึกษาว่า - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทรา วางระบบการให้บริการประชาชนในพื้นที่อย่างไรจึงเป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการในระดับมาก? การจะทำให้ระบบการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นเป็นเหมือนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทราได้นั้น ต้องทำอย่างไรบ้าง? - ทำไมผู้รับหรือใช้บริการด้านการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเกือบทุกแห่งจึงประเมินให้บริการด้านนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่ำสุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรปรับปรุงเรื่องนี้อย่างไร? • ด้านแนวคิดในการจัดบริการสังคมควรมีการศึกษาว่า - ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกมีชุดความคิด ความเชื่อเชิงอุดมการณ์ทางสังคม สวัสดิการสังคมอย่างไร? - ภายใต้กรอบกฎหมายและนโยบายสังคม/สวัสดิการสังคมที่รัฐกำหนด ชุดความคิดความเชื่อเชิงอุดมการณ์ทางสังคม สวัสดิการ/บริการสังคมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกมีบทบาทต่อการจัดการบริการสังคมหรือไม่?อย่างไร? - ชาวบ้านทั่วไปแยกแยะได้หรือไม่ว่า อะไรเป็นสวัสดิการสังคม/บริการสังคมแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยเหมือนประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย? อะไรเป็นสวัสดิการสังคม/บริการสังคมแบบประชานิยมที่แจกเพื่อหวังผลทางการเมือง? มีวิธีพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร? 4.ข้อเสนอแนะต่อสถาบันการศึกษา งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะต่อสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านการจัดการบริการสังคมในแต่ละระดับ ดังนี้ • การเรียนการสอนระดับปริญญาตรี สถาบันการศึกษาควรให้ความสำคัญกับการสร้างบัณฑิตทางการจัดการบริการสังคมให้เป็นผู้ที่มีทักษะในการคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ สามารถอ่านและตีความเอกสารได้โดยเฉพาะข้อกฎหมาย กฎระเบียบและอื่นๆที่เกี่ยวกับงาน รวมทั้งมีทักษะเบื้องต้นในการทำวิจัย การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถาณการณ์ที่ไม่มีมาตรฐานการทำงาน ตลอดจนสามารถสร้างความเข้าใจต่อหน้ากลุ่มคนจำนวนมากได้ นอกจากนี้สถาบันการศึกษาควรมีกระบวนการในการทำให้บัณฑิตทางการัจดการบริการสังคมเป็นผู้มีมุนษยสัมพันธ์สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นที่มีความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมได้ • การเรียนการสอนระดับปริญญาโท สถาบันการศึกษาควรให้ความสำคัญกับการสร้างมหาบัณฑิตทางการจัดการบริการสังคมให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการองค์การ/ โครงการ การประสานงาน การบริหารงานคุณภาพ การจัดการทรัพยากร การบริหารความเสี่ยง และการประเมินความเป็นไปได้ของทางเลือกในการจัดบริการสังคมภายใต้ข้อจัด • การเรียนการสอนระดับปริญญาเอก สถาบันการศึกษาควรให้ความสำคัญกับการสร้างดุษฎีบัณฑิตทางการจัดการบริการสังคมให้เป็นผู้มีศักยภาพทางการวิจัยขั้นสูง สามารถผลิตสร้างนวัตกรรมใหม่ทางการจัดการบริการสังคมจากการวิจัยได้ โดยเฉพาะความสามารถในการผลิตสร้างนวัตกรรมองค์การที่ทำให้โครงสร้างกลไกลการทำงานบริการสังคมมีประสอทธิภาพสูงขึ้น ความสามารถในการผลิตสร้างนวัตกรรมกระบวนการที่ทำให้กระบวนการแปรสภาพทรัพยากรทางการจัดการสามารถผลิตสร้างบริการสังคมที่มีคุณภาพสูงขึ้น และความสามารถในการผลิตสร้างนวัตกรรมบริการที่ทำให้ผู้รับบริการ หรือ ผู้ใช้บริการมีระดับความพึงพอใจตามที่คาดหวังหรือมากว่าth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการผลิตผลงานการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2554 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการปกครองส่วนท้องถิ่น - - วิจัยth_TH
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - - การบริหารth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleการจัดการบริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeThe management of social services by the local administrative organizations in the Eastern part of Thailanden
dc.typeResearch
dc.year2557
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น