กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1442
ชื่อเรื่อง: | การสำรวจความชุกและโอกาสเกิดโรคในปลาแมนดาริน Synchiropus splendidus (Herre, 1927) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Disease surveillance and incidence of Mandarinfish, Synchiropus splendidus herre, 1927) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมรัฐ ทวีเดช วิรชา เจริญดี ชนะ เทศคง ณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
คำสำคัญ: | ปลาแมนดาริน สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | จากการออกสำรวจปลาแมนดารินในตลาดขายปลา ในระยะเวลาระหว่างเดือนมกราคม 2556 ถึง เดือนสิงหาคม 2557 พบปลาแมนดารินชนิด Green Mandarinfish มีปริมาณนำเข้าเฉลี่ย 115 ตัวต่อเดือน ราคาต่อตัวประมาณ 150-300 บาท ส่วนใหญ่มาจากประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ จากการสำรวจโดยแบบสอบถามพบว่า มีการนำเข้าปลาแมนดารินทั้งหมด 2,193 ตัว มีความชุกของการเเกิดโรคติดเชื้อแบคทีเรีย 0.76% การติดเชื้อโรคจุดขาวน้ำเค็ม 2.87% การติดเชื้อโปรโตซัวเห็บระฆัง 0.27% และการติดเชื้อโปรโตซัว Amyloodinium 0.27% โรคที่ตรวจพบทั้งจากปลาแมนดารินที่นำเข้ามาใหม่ และปลาแมนดารินที่มีอยู่ในสถานที่เพาะเลี้ยงเดิม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โรคไม่ติดเชื้อ (Non-infectious disease) จากปัญหาการจัดการคุณภาพน้ำ หรืออุบัติเหตุ และโรคติดเชื้อ (Infectious disease) ที่พบคือ การติดปรสิตเห็บระฆัง ประสิต จุดขาวน้ำเค็ม Cryptocaryon irritans ปรสิต Amyloodinium ocellatum ปรสิตภายใน (Internal parasite) ที่ตรวจพบคือ กลุ่มพยาธิตัวกลม (Nematodes) และกลุ่มพยาธิแบน (Trematode) รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio spp. ซึ่งเป็นสามเหตุหลักของการตายและการติดเชื้อแทรกซ้อน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1442 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น