กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1437
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์th
dc.contributor.authorพรนภา หอมสินธุ์th
dc.contributor.authorปาจารา โพธิหังth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:04Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:04Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1437
dc.description.abstractการศึกษาเชิงการทดลอง นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานในวัยรุ่นตอนต้น จ.ชลบุรี โดยใช้แนวทางคิดนิเวศวิทยาสำหรับพฤติกรรมสุขภาพ(Ecological framework for health behavior) แบบจำลองการวางแผน ส่งเสริมสุขภาพ (PRECEDE-PROCEED model) เป็นแนวทางในการจัดดำเนินการเพื่อป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนมัธยมศึกษาที่ 1 ถึง 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 400 คน ใน 3 โรงเรียน ในปีการศึกษา 2556 ที่มีลักษณะ ประเภทและขนาดของโรงเรียน รวมทั้งความชุกของการสูบบุหรี่ของนักเรียนใกล้เคียงกัน แบ่งเป็นโรงเรียนกลุ่มทดลองหนึ่งโรงเรียน (200 คน) และโรงเรียนกลุ่มควบคุมสองโรงเรียน (200 คน) โดยใช้วิธีการจับคู่แบบกลุ่ม (group-matching) ด้วยเรื่องเพศ และ ระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอยเกี่ยวกับสุขภาพตามมาตรฐานของหลักสูตร ในขณะกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่ผู้วิจัยได้ออกแบบหลายระดับชั้น (multi-level intervention) วัดผลจากการเปลี่ยนแปลงของการรับรู้ความชุกของการสูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถของตนในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การรับรู้ภาพลักษณ์ทางสังคมเชิงบวกต่อคนสูบบุหรี่ ความตั้งใจในการสูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่ รวมทั้งพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบได้ด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ Chi-square test, Independent t-test, และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measure ANOVA) ผลการวิจัยพบว่าเมื่อสิ้นสุดการทดลอง และติดตามประเมินอีกสามเดือน นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นการสูบบุหรี่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความชุกของการสูบบุหรี่ และความตั้งใจในการสูบบุหรี่ต่ำกว่ากลุ่มที่รับการสอนแบบปกติ (F= 5.981 P<.01; F=5.62, p<.01 ตามลำดับ) ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงคะแนนเฉลี่ยเล็กน้อยในด้านการรับรู้ความสามารถของตนในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การรับรู้ภาพลักษณ์ทางสังคมเชิงบวกต่อคนสูบบุหรี่และความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ ด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เมื่อติดตามไปสามเดือนหลังสิ้นสุดการทดลอง กลุ่มทดลองมีสัดส่วนการทดลองสูบและสูบไม่ประจำต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (15.5% vs 31%). ผลงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นผลประโยชน์ของการดำเนินกิจกรรมแบบหลายระดับ (Multi-level intervention) มีผลต่อการยับยั้งการทดลองสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้น โปรแกรมสามารถลดความตั้งใจในการทดลองสูบบุหรี่และปรับเปลี่ยนการรับรู้บรรทัดฐานเกี่ยวกับการสูบบุหรี่เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติ การรับรู้ความสามารถของตนในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่การสูบบุหรี่ได้ และความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ได้th_TH
dc.description.sponsorshipสนับสนุนงบประมาณวิจัยโดย เงินรายได้มหาวิทยาลัยบูรพา (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ 2556en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการสูบบุหรี่ - - การป้องกันth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleผลของโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานในวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeEffects of school-based smoking initiation prevention programme among early adolescents in chonburien
dc.typeResearch
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this intervention research was examine the effect of a school-based smoking initiation prevention programme among early adolescent in ChonBuri. Ecological framework for hearth behavior and PRECEDE-PROCEED model were used as a conceptual framework to develop the program. A sample of this study was 7th to 9th grade student (N=400) in three expanded elementary schools during academic year 2556. The comparable schools with size of schools and prevalence of smoking were selected to participate in this study, 200 subjects from each resulting in total sample of 400 students. One school served as an intervention group and the other schools served as a control group by group-matching with sex and level of education. The control group received standard health curriculum while the intervention group received a school-based smoking initiation prevention programme , emphasizing theory-based and multi-level intervention. Outcome measures comprised changes in prevalence estimate, self-efficacy for avoiding smoking, perceived social image of smoker smoking intention, intention of smoking cessation, and smoking behaviors, using self-administered questionnaires (SAQ). Descriptive statistics, percentage, mean, stand deviation, describe background characteristics. Independent t-test, Chi-square test, and (Repeated Measure ANOVA) were used to test hypothesis. The significant finding revealed that mean scores of prevalence estimate and the mean scores of smoking intention from baseline to instant intervention and 3-month follow-up decreased more in the intervention group (F= 5.981 P<.01; F=5.62, p<.01, respectively), whereas there was little change in self-efficacy, perceived social image scores, and intention of smoking cessation. At the 3-month follow-up, the intervention group had lower proportions of experimental smokers/ non-regular smokers (15.5% vs 31%). The finding suggested that this multi-level intervention program had an effect on initiation of smoking among early adolescents. The programme altered adolescents’ prevalence estimate and smoking intention, but did not improve self efficacy for avoiding smoking, perceived social image of smokers, and intention of smoking cessation.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น