กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1436
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | กล่าวขวัญ ศรีสุข | th |
dc.contributor.author | เอกรัฐ ศรีสุข | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:07:04Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:07:04Z | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1436 | |
dc.description.abstract | สมุนไพรในโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี ถูกใช้ในการแพทย์พื้นบ้านมาเป็นระยะเวลานาน ในการศึกษานี้ทำการเลือกสมุนไพรจำนวน 21 ชนิดตามการใช้ในทางการแพทย์ พื้นบ้านเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบต่าง ๆ เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมของส่วนสกัดเอทานอล และส่วนสกัดน้ำของพืชสมุนไพรการประเมินฤทธิ์ต้านการอักเสบทำโดยการวิเคราะห์การยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) ที่เร่งปฏิกิริยาโดยเอนไซม์ inducible nitric oxide synthase (iNOS) และพรอสตาแกลนดิน E2 (prostaglandin E2) ที่เร่งปฏิกิริยาโดยเอนไซม์ cyclooxygenase-2 (COX-2) ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่กระตุ้นด้วยไลโพพอลิแซกคาไรค์ (lipopolysaccharide, LPS) ทดสอบความมีชีวิตรอดของเซลล์แมคโครฟาจที่สัมผัสกับส่วนสกัดของพืชโดยวิธี MTT และตรวจสอบปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมโดยวิธี Folin-Ciocalteu ผลการศึกษาพบว่าส่วนสกัดของพืชสมุนไพรที่ศึกษามีฤทธิ์ต้านอักเสบ ส่วนสกัดเอทานอลของพืชทุกชนิดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่สูงกว่าส่วนสกัดน้ำ ยกเว้นส่วนสกัดของใบมะฮึกจากส่วนสกัดทั้งหมดพบว่าส่วนสกัดใบสาบแร้งสาบกา และส่วนสกัดของรากมฮึกมีฤทธิ์ในการลดการผลิตไนตริกออกไซด์ และพรอสตาแกลนดิน E2 ที่สูง โดยไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ นอกจากนี้พบว่า ความสามารถในการต้านอักเสบ และปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมของส่วนสกัดมีความสัมพันธ์ที่ต่ำ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าใบสาบแร้งสาบกา และรากมะฮึกเป็นแหล่งของสารต้านอักเสบตามธรรมชาติที่ดี ส่วนสกัดเอทานอลของใบสาบแร้งสาบกาถูกนำไปศึกษาต่อ เนื่องจากมีการรายงานว่าส่วนสกัดจากใบสาบแร้งสาบกามีฤทธิ์ต้านอักเสบในสัตว์ทดลองหลายโมดล แต่ยังไม่มีการอธิบายถึงกลไกการต้านอักเสบของมัน ดังนั้นเราจึงศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบและกลไกการต้านอักเสบของส่วนสกัดเอทานอลของใบสาบแร้งสาบกา (ACE) ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพพอลิแซกคาไรด์ ACE สามารถยับยั้งการผลิดไนตริก ออกไซด์ และพรอสตาแกลนดิน E2 ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้นโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 22.69 ± 0.14 และ 25.92 ± 5.72 µg/mL ตามลำดับ ACE ที่ความเข้มข้น 3.125-50 µg/mL ไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์อย่างมีนัยสำคัญ และลดการแสดงออกของmRNA และโปรตีน ของ iNOS และ COX-2 ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น นอกจากนี้ ACE ยังลดการเคลื่อนที่เข้าสู่นิวเคลียสของหน่อยย่อย p65 ของ nuclear factor-KB (NF-KB) และลดการฟอสโฟรีเลชันของเอนไซม์ extracellular receptor kinase (ERK) และ p38 mitogen-activated proteinkinases (MAPKs) ผลการศึกษาที่ได้นี้แสดงให้เห็นว่า ฤทธิ์ต้าน การอักเสบของ ACE อย่างน้อยเกิดผ่านทางการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซต์ และพรอสตาแกลนดิน E2 โดยลดการแสดงออกของเอนไซม์ iNOS และ COX-2 และลดการส่งสัญญาณชีวภาพของวิถี NF-KB และ MAPKs การค้นพบนี้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยสนับสนุนการใช้ใบสาบแร้งสาบกาในทางการแพทย์พื้นบ้านเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับเงินอุดหนุนทุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) งบประมาณปี 2556 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การอักเสบ | th_TH |
dc.subject | พืชสมุนไพร | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช | th_TH |
dc.title | การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของพืชสมุนไพรในเขตโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) | th_TH |
dc.title.alternative | Investigation of anti-inflammatory activities of medicinal plants from Ban Ang-Ed official community forest (Chaipattana foundation), Chantaburi province | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2557 | |
dc.description.abstractalternative | Medicinal plants from Ban Ang-Ed official community forest, Chantaburi Province, have been used in traditional medicine for a long time. In this study, twenty one medicinal plants from Ban Ang-Ed office community forest were selected to extract with ethnopharmacological uses to treat various inflammatory diseases. The water and ethanol extracts of the plants were evaluated their anti-inflammatory activity and total phenolic contents. The anti-inflammatory activity of the plant extracts were determined by measuring the inhibitory effect on inducible nitric oxide synthase (iNOS)-catalyzed nitric oxde (NO) and cyclooxy genase-2 (COX-2)-catalyzed prostaglandin E2 (PGE2) production in lipopolysaccharide (LPS)-stimulated RAW 264.7 macrophages. The cytotoxic activities against macrophages were determined by MTT assay. Total phenolic contents were estimated by Folin-Ciocalteu method. The results show that anti-inflammatory activity was observed in the studied plant extracts. The ethanol extracts showed more anti-inflammatory activity than the water extracts except the extract of Clausena excavate Buurm F. leaves. Among all the extracts, the ethanol extracts of Ageratum conyzoides Linn leaves and C. excavate roots exhibited high inhibitory effects on No and PGE2 production with no significant cytotoxicity. The correlation of anti-inflammatory activity and total phenolic contents of the extracts was low. These obtained results indicated that leaves of A. conyzoides and the roots of C. excavate are good sources of natural of anti-inflammatory agents. The ethanol extract of A. conyzoide leaves was selected to further study because the leaf extracts from A. conyzoide have been shown anti-inflammatory activity in several animal models. However, the mechanism of its action has been described yet. Thus we determined the anti-inflammatory activity and the molecular mechanism of the ethanol extract of A. conyzoide leaves (ACE) in LSP-stimulated RAW264.7 macrophage model. ACE exhibited an inhibitory effect on No and PGE2 production in a concentration-dependent manner with IC50 values of 22.69 ± 0.14 and 25.92 ± 5.72 µg/mL, respectively. ACE at concentrations of 3.125-50 µg/mL showed no significant cytotoxic effect. ACE attenuated the expression of iNOS and COX-2 at mRNA as well as protein levels in a concentration-dependen manner. Additionally, ACE suppressed the level of nuclear factor-KB (NF-KB) p65 subunit translocation and phosphorylation of extracellular receptor kinase (ERK) and p38 mitogen-activated proteinkinases (MAPKs). These results indicate that ACE inhibits inflammatory response, at least in part, by inhibition of NO and PGE2 production through suooression of iNOS and COX-2 expression via a signaling pathway of NF-KB and MAPKs. These findings provide the scientific evidence to justify the anti-inflammatory therapeutic use of A. conyziodes leaves in traditional medicine | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น