กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1422
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เพศศึกษาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of computer assisted instruction entitled sex-education in early secondary school students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิตติ กรุงไกรเพชร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | บทเรียนคอมพิวเตอร์ เพศศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา จุดประสงค์การวิจัย: 1. เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องเพศศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อน-หลังเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องเพศศึกษา ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประชากร: นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ปี การศึกษา 2554 จำนวน 765 คน กลุ่มตัวอย่าง: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบกลุ่ม(cluster sampling)ได้กลุ่มทดลอง 301คน กลุ่มควบคุมเลือกด้วยวิธีการเดียวกัน ได้จำนวน 104 คน วิธีวิจัยการวิจัย: สำรวจหัวข้อเรื่องเพศศึกษาที่มีความถี่สูงสุด 3 อันดับแก เพื่อนำมาจัดทำสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและทดสอบสื่อในกลุ่มนักเรียนโรงเรียนชนกัลยานุกูลแสนสุข เพื่อปรับปรุงสื่อ จากนั้นนำมาใช้ในกลุ่มทดลอง แล้วเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบก่อนและหลังการชมสื่อ รวบรวมข้อมูลทั่วไปด้วยแบบสอบถาม ใช้แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการชมสื่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบก่อนและหลังการชมสื่อ ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ ค่าที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.1 ผลการวิจัย: กลุ่มทดลอง 301คน เป็นชาย 165 และหญิง 136 คน (ร้อยละ 55และ 45ตามลำดับ) จำแนกเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 และ 3 เท่ากับ 179, 88 และ 34 คน (ร้อยละ 60, 29 และ 11 ตามลำดับ) โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมที่ระดับ 1.01-2.00, 2.01-3.00 และ 3.01-4.00 เท่ากับ 26, 105 และ 170 (ร้อยละ 9, 35 และ56) ตามลำดับ กลุ่มควบคุม 104 คน เป็นชาย 59 และหญิง 45 คน (ร้อยละ 57 และ 43)ตามลำดับ จำแนกเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 เท่ากับ 22 และ 82 (ร้อยละ 21 และ 79) ตามลำดับ โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมที่ระดับ 1.01-2.00, 2.01-3.00 และ 3.01-4.00 เท่ากับ 8, 39 และ 57 (ร้อยละ 8, 37 และ55) ตามลำดับ เมื่อให้เรียนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องเพศศึกษาพบว่า ในกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อน – หลังแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=17.09, p<0.01) โดยพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ส่วนกลุ่มควบคุมพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนขหลังเรียนไม่มีความแตกต่างกัน (t=.34, p=.73) ได้รับการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เพศศึกษา มีคะแนน สรุปผลการวิจัย: สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เพศศึกษา มีผลประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1422 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_067.pdf | 3.99 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น