กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1422
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | กิตติ กรุงไกรเพชร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:07:03Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:07:03Z | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1422 | |
dc.description.abstract | รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา จุดประสงค์การวิจัย: 1. เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องเพศศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อน-หลังเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องเพศศึกษา ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประชากร: นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ปี การศึกษา 2554 จำนวน 765 คน กลุ่มตัวอย่าง: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบกลุ่ม(cluster sampling)ได้กลุ่มทดลอง 301คน กลุ่มควบคุมเลือกด้วยวิธีการเดียวกัน ได้จำนวน 104 คน วิธีวิจัยการวิจัย: สำรวจหัวข้อเรื่องเพศศึกษาที่มีความถี่สูงสุด 3 อันดับแก เพื่อนำมาจัดทำสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและทดสอบสื่อในกลุ่มนักเรียนโรงเรียนชนกัลยานุกูลแสนสุข เพื่อปรับปรุงสื่อ จากนั้นนำมาใช้ในกลุ่มทดลอง แล้วเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบก่อนและหลังการชมสื่อ รวบรวมข้อมูลทั่วไปด้วยแบบสอบถาม ใช้แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการชมสื่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบก่อนและหลังการชมสื่อ ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ ค่าที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.1 ผลการวิจัย: กลุ่มทดลอง 301คน เป็นชาย 165 และหญิง 136 คน (ร้อยละ 55และ 45ตามลำดับ) จำแนกเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 และ 3 เท่ากับ 179, 88 และ 34 คน (ร้อยละ 60, 29 และ 11 ตามลำดับ) โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมที่ระดับ 1.01-2.00, 2.01-3.00 และ 3.01-4.00 เท่ากับ 26, 105 และ 170 (ร้อยละ 9, 35 และ56) ตามลำดับ กลุ่มควบคุม 104 คน เป็นชาย 59 และหญิง 45 คน (ร้อยละ 57 และ 43)ตามลำดับ จำแนกเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 เท่ากับ 22 และ 82 (ร้อยละ 21 และ 79) ตามลำดับ โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมที่ระดับ 1.01-2.00, 2.01-3.00 และ 3.01-4.00 เท่ากับ 8, 39 และ 57 (ร้อยละ 8, 37 และ55) ตามลำดับ เมื่อให้เรียนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องเพศศึกษาพบว่า ในกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อน – หลังแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=17.09, p<0.01) โดยพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ส่วนกลุ่มควบคุมพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนขหลังเรียนไม่มีความแตกต่างกัน (t=.34, p=.73) ได้รับการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เพศศึกษา มีคะแนน สรุปผลการวิจัย: สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เพศศึกษา มีผลประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | รายงานการวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ประเภทงบประมาณเงินรายได้ประจำปีงบประมาณ 2555 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | บทเรียนคอมพิวเตอร์ | th_TH |
dc.subject | เพศศึกษา | th_TH |
dc.title | การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เพศศึกษาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น | th_TH |
dc.title.alternative | Development of computer assisted instruction entitled sex-education in early secondary school students | en |
dc.type | งานวิจัย | |
dc.year | 2555 | |
dc.description.abstractalternative | Study design: A research and development Objective: To create a computer assisted instruction entitled sex-education and compare pre-post mean score test of computer assisted instruction entitled sex education among early secondary school students Population: 765 early secondary school students of Piboonbumpen demonstration School of Burapha University, academic year 2011 Samples: The samples who recruited by cluster random sampling, 301 were experimental group and 104 were control group Materials and Methods: The topics for production of sex education CAI derived from survey study in population students and parents and the teachers. We made the trial of sex education-CAI in students of Cholkunyanukal SeansukSchool and then evaluation before using in the experiment. On the experiment, we made the pretest and posttest in both experimental control groups. The general data was collected and statistic analyzed by frequency, percentage, mean+-sd. The pre-posttest compare mean was analyzed by paired t-test Results: Of 301 in experimental group, 165 were male (55%) and 136 were female (45%). They were classified into 1 st, 2nd and 3 rd level as 179,88 and 34 (60%, 29% and 11%) in order. and they were divided into GPA level 1.01-2.00, 2.01-3.00 and 3.01-4.00 as 26, 105 and 170 (9%, 35% and 56%) consecutively. Of 104 in control group were 59 male (57%) and female 45 (43%). They were classified into 2 nd and 3 rd level as 22 (21%) and 82 (79%) consecutively. and they were divided into GPA level 1.01-2.00, 2.01-3.00 and 3.01-4.00 as 8, 39 and 57 (8%, 37% and 55%) consecutively. After implementation of sex education-CAI in the experimental group, the mean score of pre-posttest was different statistical signicantly at level of .01 (t=17.09, p<0.01). But in the control group, the mean score of two-times testing were not different statistical significantly. Conclusion: The sex education-CAI had the benefit for learning among the early secondary level students. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_067.pdf | 3.99 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น