กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1386
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยไข่กึ่งแห้งให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพมูลค่าสูง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Product development of intermediate moisture banana (Musa sapientum L.) as high value functional food product |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิชมณี ยืนยงพุทธกาล นฤศันส์ วาสิกดิลก มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กล้วยไข่ การเพิ่มมูลค่า สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้เป็นการ พัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยไข่กึ่งแห้งโดยใช้วิธีออสโมซิสร่วมกับการทำแห้งแบบสุญญากาศและเสริมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้วัตถุดิบกล้วยไข่ จากการศึกษาผลของการออสโมซิสโดยใช้สารละลายผสมระหว่างโอลิโกฟรุตโตส 30-50 กรัมต่อ 100 กรัม และซูโครส 10-20 กรัมต่อ 100 กรัม ร่วมกับการเติมโซเดียมคลอไรด์ 5 กรัมต่อ 100 กรัม โดยพบว่าการใช้โอลิโกฟรุคโตส 47 กรัม 100 กรัม และซูโครส 19 กรัม ร่วมกับการเติมโซเดียมคลอไรด์ 5 กรัมต่อ 100 กรัม มีความเหมาะสมมากที่สุด จากการศึกษาการใช้สภาวะสุญญากาศในการเตรียมขั้นต้น โดยแปลความดันสุญญากาศ 50 และ 100 มิลลิบาร์ และเวลาการสุญญากาศ 5 และ 10 นาทีพบว่า การใช้สถาวะสุญญากาศในการเตรียมขั้นต้นมีผลทำให้ค่าการถ่ายเทมวลสารเพิ่มขึ้น โดยการเตรียมขั้นต้นในสภาวะสุญญากาศ 50 มิลลิบาร์ เป็นเวลา 5 นาที มีความเหมาะสมที่สุด ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง จากการศึกษาการเสริมแร่ธาตุในสารละลายออสโมติก คือ ไอรอนกลูโคเนต 0-2 กรัมต่อ 100 กรัม และแคลเซียมแลคเตท 0-2 กรัม ต่อ 100 กรัม พบว่า การเติมไอรอนกลูคเนตและแคลเซียมแลคเตทในสารละลาย ออสโมติกทำให้กล้วยไข่หลังการออสโมซิสมีปริมาณเหล็กและปริมาณแคลเซียมเพิ่มขึ้น โดยการเติมไอรอนกลูโคเนตและแคลเซียมแลคเตท 2 กรัมต่อ 100 กรัม ทำให้กล้วยไข่หลังการออสโมซิสมีปริมาณเหล็กและ แลเซียมสูงที่สุด เมือ่นำกล้วยไข่ที่ผ่านและไม่ผ่านการออสโมซิสมาทำแห้งแบบสุญญากาศที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ความดัน 480 มิลลิบาร์ กำหนดให้มีความชื้นสุดท้ายร้อยละ 15±1 พบว่า การออสโมซิสกล้วยไข่ก่อนการทำแห้งช่วยลดเวลาทำแห้งได้ประมาณ 170 นาที กล้วยไข่กึ่งแห้งที่ผ่านการออสดมซิสมีลักษณะปรากฏที่ดี มีปริมาณเหล็ก 22.04 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และแคลเซียม 30.28 กรัมต่อ 100 กรัม มีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคที่อุณหภูมิห้อง เมื่อเก็บรักษาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ โดยกล้วยไข่กึ่งแห้งที่ผ่านการออสโมซิสได้รับความชอบโดยรวมมากกว่า 6 คะแนนขึ้นไปตลอดเวลาการเก็บรักษา |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1386 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น