กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1381
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วรรณวิชนี ถนอมชาติ | |
dc.contributor.author | วรรณภา วิจิตรจรรยา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:04:31Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:04:31Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1381 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และอุตสาหกรรมสัมพันธ์ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความคาดหวังจากการศึกษาต่อในหลักสูตรฯ และเพื่อสำรวจความคิดเห็นภายใต้กรอบทรัพยากรสำคัญขององค์การ (VRIO framework) ๔ ด้าน ได้แก่ คุณค่า (Value) ความหายาก (Rareness) ความสามารถในการลอกเลียนแบบ (Imitability) และทรัพยากรในองค์การ (Organization) โดยเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed methods research) ซึ่งใช้เทคนิควิธีการวิจัยที่ผสมผสานร่วมกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบกับการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชั้นปีที่สี่ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว หมาวิทยาลัยบูรพา และผู้ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ถูกเลือกแบบกำหนดโควตา (Quota sampling) จำนวน ๓๘๔ คน ประกอบด้วย บุคคลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน ๒๘๖ คน ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ ๔ จำนวน ๙๑ คน และผู้สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี จำนวน ๘ คน ทั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๓ คน ซึ่งถูกเลือกโดยการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Purposive sampling) ผลการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสนใจที่จะศึกษาต่อในหลักสูตรฯ มีจำนวนมากถึง ร้อยละ ๖๐.๕๐ ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ผู้ให้ความสนใจในหลักสูตรฯ ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง ๒๐-๒๕ ปี รองลงมามีอายุประมาณ ๒๖-๓๐ ปี อายุ ๓๑-๓๕ ปี และอายุมากกว่า ๓๕ ปี ตามลำดับ ทั้งนี้ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสนใจในหลักสูตรฯ เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ นิสิตชั้นปีที่ ๔ พนักงานบริษัท ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว พนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ ตามลำดับ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า สาเหตุอันดับแรกที่ผู้ตอบแบบสอบถามไม่สนใจที่จะศึกษาต่อในหลักสูตรฯ เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง รองลงมาคือไม่สะดวกต่อการเดินทาง และเวลาไม่เอื้ออำนวย ตามลำดับ ผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๓ ท่าน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างภายใต้กรอบแนวคิดทรัพยากรสำคัญขององค์การ (VRIO framework) พบว่า หลักสูตรมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งและยังไม่พบว่ามีการเปิดสอนโดยมหาวิทยาลัยแห่งใดภายในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม หลักสูตรฯ ควรสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับแรงงานหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกันในลักษณะการบูรณาการภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ ตลอดจนสนับสนุนให้บุคคลากรทำวิจัย และศึกษาต่อในสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมุ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยอาศัยเครือข่ายของศิษย์เก่าและดึงดูดประธานสหภาพแรงงานในองค์การต่างๆ เข้ามาเรียนในหลักสูตรฯ ด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษา เพื่อสร้างการบอกต่อกลุ่มเป้าหมายอื่นต่อไป ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยมีความสอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คือ หลักสูตรฯ ควรมีความเฉพาะเจาะจงและลงลึกในศาสตร์เฉพาะด้านทางด้านทรัพยากรมนุษย์และแรงงานสัมพันธ์ และควรมีการทำความร่วมมือกับองค์การของรัฐที่มีบทบาทสำคัญทางด้านแรงงาน ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรภายในหลักสูตร ดำเนินการศึกษาวิจัยในศาสตร์เฉพาะที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสนับสนุนให้บุคลากรภายในศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกในสาขาที่เกี่ยวข้องโดยตรงควบคู่ไปกับกระบวนการสรรหาและคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตรงตามตำแหน่งงาน ควรพิจารณาปรับโครงสร้างและการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นหลักสูตรระยะสั้นโดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะให้กับบุคากรที่ทำงานทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแรงงานสัมพันธ์ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การศึกษาต่อ | th_TH |
dc.subject | สาขาการศึกษา | th_TH |
dc.title | ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และอุตสาหกรรมสัมพันธ์ | th_TH |
dc.title.alternative | Master of Science in Human Resource Management and Industrial Relation | |
dc.type | Research | |
dc.year | 2556 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น