กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1363
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ระดับสูง: การวิจัยนำร่องในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of teachers at the basic education level on the assessment of high level learning
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิรินธร สินจินดาวงศ์
ภัทราวดี มากมี
ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม
วัยวุฑฒ์ อยู่ในศีล
สาธิดา สกุลรัตนกุลชัย
กันต์ฤทัย คลังพหล
วราภรณ์ ไทยมา
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: การประเมินผลการเรียนรู้
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ครู
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ระดับสูง: การวิจัยนำร่องในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์การวิจัย 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาการนำหลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาครูไปใช้ในการพัฒนาด้านการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงสำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนาวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงสำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดของนักเรียนในการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงในแต่ละสังกัดการศึกษา และแต่ละพื้นที่การศึกษา และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูและนักเรียนในการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงในแต่ละสังกัดการศึกษาและแต่ละพื้นที่การศึกษา ผลการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ ระดับสูง พบว่า หลักสูตรพัฒนาครู 5 หน่วย ประกอบด้วย แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 การออกแบบและประเมินผลการเรียนรู้ ระดับสูง เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง การสร้างและพัฒนาเครื่องมือการประเมินผลการเรียนรู้ ระดับสูง และการนำผลการประเมินไปใช้ ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาหลักสูตร 5 ท่าน มีความสอดคล้องกันในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 4.40 ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่า หลักสูตรมีความสอดคล้องและมีความเหมาะสมในระดับมาก การนำหลักสูตรไปใช้ในการพัฒนาด้านการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงโดยการจัดฝึกอบรมให้กับครูที่เข้าร่วมโครงการ 5 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม และอุบลราชธานีจาก 2 สังกัด ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผลการศึกษาโดยรวม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อโครงการฝึกอบรมมากและมีค่าเฉลี่ย คะแนนด้านการประเมินผลระดับสูงเพิ่มขึ้นหลังจากที่ได้รับการอบรมพัฒนาครูด้านการประเมินผลระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการพัฒนาวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง พบว่า ครูแต่ละคนมีความรู้เดิมและได้ความรู้ใหม่จากการอบรมมาเพิ่มเติม หลังจากอบรมครูได้หาความรู้เพิ่มเติมจากรายวิชาที่สอน คัดเลือกเนื้อหาจากรายวิชาและประยุกต์ใช้เทคนิค CATs จากการฝึกอบรมโดยเลือกเทคนิคการประเมินระดับสูง จากนั้นครูสามารถออกแบบวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงและนำไปใช้กับนักเรียน ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิด ของนักเรียนในการประเมินการเรียนรู้ระดับสูง ในแต่ละสังกัดการศึกษา พบว่า คะแนนทักษะการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดของนักเรียนในการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง ที่มีสังกัดของโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยโรงเรียนรัฐบาลมีทักษะการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดสูงกว่าโรงเรียนเอกชน และคะแนนทักษะการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดของนักเรียนในการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง ที่มีกลุ่มพื้นที่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดของนักเรียนในการประเมินผลกการเรียนรู้ระดับสูงของนักเรียนในแต่ละจังหวัดอยู่ในระดับสูงทั้งหมด ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจของครูและนักเรียนในการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงในแต่ละสังกัดการศึกษา พบว่า คะแนนความพึงพอใจของนักเรียนในการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงที่มีสังกัดของโรงเรียนไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของนักเรียนในแต่ละจังหวัดอยู่ในระดับสูงทั้งหมด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1363
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น