กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/134
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วนิดา สกุลรัตน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:45:50Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:45:50Z | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/134 | |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง “การใช้ดัชนีวัดระดับความสุขในการทำงานของบุคลากร สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา” เป็นการวิจัยเชิงพรรณา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะต่อความสุขในการทำงาน ศึกษาดัชนีวัดระดับความสุขในการทำงาน ศึกษาระดับความสุขในการทำงาน เปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกันกับทัศนะต่อความสุขในการทำงานและระดับความสุขในการทำงาน และลำดับความสำคัญของปัจจัย/องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความสุขในการทำงาน ของบุคลากรสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย สถิติ t-test และ F-test ณ ระดับนัยสำคัญสถิติที่ 0.05 สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 30-40 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาโท อายุการทำงาน ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 11-15 ปี มีรายได้ 10,000-30,000 บาทต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างมีทัศนะต่อความสุขในการทำงานในระดับปานกลาง ดัชนีวัดระดับความสุขที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความพึงพอใจ น้อยที่สุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระดับความสุขในการทำงาน ในภาพรวมทั้งองค์กร มีค่าเฉลี่ย 3.45 อยู่ในระดับปานกลาง การทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลของบุคลากร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อายุการทำงาน ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ รายได้ต่อเดือน ไม่มีผลทัศนะต่อความสุขในการทำงาน และระดับความสุขในการทำงาน ลำดับความสำคัญของปัจจัย/องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความสุขในการทำงานส่วนใหญ่เลือกด้านเงินเดือนและสวัสดิการเป็นลำดับที่ 1 และให้ความสำคัญกับด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตด้านอื่นๆเป็นลำดับสุดท้าย ข้อเสนอแนะจาการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ มหาวิทยาลัยควรมีมาตรการในทางปฏิบัติโดยส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านบุคคลและแผนงาน ทำงานวิจัยสถาบันด้านบุคคล วัดระดับความสุขให้เห็นภาพรวมของมหาวิทยาลัย แล้วนำมาเป็นฐานข้อมูลจัดกิจกรรมพัฒนาปัจจัยแวดล้อมการทำงานให้เกิดการทำงานอย่างมีความสุข สำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ควรนำผลการศึกษานี้ไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ โดยศึกษาทุก 1-2 ปี เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้คณะผู้บริหารนำไปพิจารณา | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยสถาบันและการวิจัยในชั้นเรียน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การทำงาน | th_TH |
dc.subject | ความพอใจในการทำงาน | th_TH |
dc.title | การใช้ดัชนีวัดระดับความสุขในการทำงานของบุคลากร สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.title.alternative | Happiness at work index of Burapha university's faculty of engineering personnel | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2554 | |
dc.description.abstractalternative | The study on “Happiness at Work Index of Burapha University’s Faculty of Engineering Personnel” was a descriptive research having aims to study the viewpoint, happiness index, and level of happiness in the work place, comparing to the difference of personnel characteristics to the happiness in working and level of happiness at work, including the importance of factors/components influencing the cause of happiness. By using questionnaire, n=88, and analyzing data by mean percentile, standard deviation. Hypothesis was tested by T-test, F-test at 0.05 significance level. The results revealed that graduated single male personnel, major group, 30-40 of age who have been working for the Faculty of Engineering for 11-15 years with salary between 10,001 - 30,000 per month had a moderate happiness in the workplace. The highest mean happiness index was the satisfaction, while the lowest was the atmosphere at work. Perspective of happiness level for the whole in moderate level, with average point at 3.45. The most important factor / component causing happiness in the workplace was salary and welfare, while life balance between work and other interest was the least. The test of hypothesis revealed that the personnel characteristics : sex, age, education, years of working and salary had no influence to the viewpoint and level of happiness in the workplace. The suggestion of this study is that the university authority should have a practical policy to enhance the relevant institute in personnel and policy to do research measuring the perspective of happiness level in Burapha University to set activities searching the environmental factors bringing happiness in the workplace. The Faculty of Engineering executive should take advantage of this study to decide a strategy plan to continually develop the institution perspective using this data base to move forward the institution effectively. Other researches such as : academic, student activity, financial researches etc should have been set for further executive benefit as well. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_092.pdf | 4.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น