กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1346
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงความคงทนของคอนกรีตที่ใช้มวลรวมจากเศษคอนกรีตเก่าเพื่อป้องกันการแทรกซึมของคลอไรด์ในสิ่งแวดล้อมทะเล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Improving durability of recycled aggregate concrete for protection against chloride penetration under marine environment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร ชาลี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คอนกรีต
เถ้าถ่านหิน
สิ่งแวดล้อมทางทะเล
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน และปริมาณเถ้าถ่านหิน ที่มีผลต่อการแทรกซึมของคลอไรด์ในคอนกรีตที่ใช้มวลรวมจากเศษคอนกรีต ที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมทางทะเล โดยใช้เถ้าถ่านหินจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ที่ใช้มวลรวมจากเศษคอนกรีตเป็นมวลรวมหยาบ ในอัตราส่วนร้อยละ 0, 15, 25, 35 และ 50 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน (W/B) เท่ากับ 0.40, 0.45, และ 0.50 หล่อคอนกรีต ทรงลูกบาศก์ขนาด 200 x 200 x 200 มม. 3 หลังจากบ่อคอนกรีตในน้ำประปาจนมีอายุครบ 28 วัน นำตัวอย่างคอนกรีตไปแช่น้ำทะเลในสภาวะเปียกสลับแห้ง ที่ จ. ชลบุรี ทดสอบการแทรกซึมของคลอไรด์ โดยใช้กรดเป็นตัวทำละลายตามมาตรฐาน ASTM C 1152 หลังคอนกรีตแช่น้ำทะเลเป็นเวลา 365 วัน ผลการศึกษาพบว่าคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหิน สามารถลดการแทรกซึมของคลอไรด์ได้ดีกว่า คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่หนึ่งเป็นวัสดุประสานเพียงอย่างเดียว เมื่อเพิ่มปริมาณเถ้าถ่านหินในส่วนผสมมากขึ้น ช่วยลดการแทรกซึมของคลอไรด์ในคอนกรีตได้ดีขึ้น การใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ลดลงสามารถลดการแทรกซึมของคลอไรด์ได้ดีขึ้นโดยเห็นผลชัดเจนในคอนกรีตที่ไม่ได้ผสมเถ้าถ่านหินมากกว่าคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหิน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1346
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น