กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1344
ชื่อเรื่อง: ผลของการเปลี่ยนแปลงความเค็มอย่างเฉียบพลันต่อการรอดตาย พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และสรีระเคมีของกุ้งขาววัยรุ่น (Litopenaeus vannamei)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of Studdenly Changes of salinity on survival, Behavior, Physical characters and Physiochemical changes of Litopenaeus vannamei juvenile
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญรัตน์ ประทุมชาติ
กระสินธุ์ หังสพฤกษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้ง - -การเลี้ยง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ทำการปรับสภาพกุ้งขาวระยะคราบแข็ง (Intermolt stage) น้ำหนัก 22 กรัม ความยาว 13 เซนติเมตร ที่ความเค็มน้ำ 25 ppt นาน 7 วัน แล้วนำกุ้งย้ายมาที่ความเค็ม 15 ppt และ 40 ppt ทันที ดำเนินการ 5 ซ้ำต่อการทดลอง แล้วบันทึกพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกาย เมื่อเวลาผ่านไป 30 นาที และ 12 ชั่วโมง และนำกุ้งทดสอบและชุดควบคุมอีกส่วนหนึ่งที่ปรับสภาพนาน 30 นาที ไปเก็บเลือดเพื่อไปตรวจวัดความเข้มข้นของโซเดียม โปแตสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม และคลอรีน จากการทดลองพบว่า กุ้งสามารถควบคุมสมดุลแร่ธาตุทั้ง 5 ชนิดให้คงที่ไว้ได้ในน้ำความเค็ม 10 ppt โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับชุดควบคุม ขณะที่ความเค็ม 40 ppt กุ้งขาวสามารถควบคุมโซเดียมและแมกนีเซียมให้มีความเข้มข้นคงที่ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับชุดควบคุมกับความเข้มข้นของคลอรีนและโปรแตสเซียมมีความเข้มข้นสูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ขณะที่แคลเซียมพบว่า มีความเข้มข้นต่ำกว่าชุดควบคุม และที่ 10 ppt อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเพิ่มความเค็มน้ำส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและลักษณะทางกายภาพสูงกว่าการลดความเค็มน้ำ โดยพบว่าเมื่อระยะเวลายาวนานขึ้นทั้งการลด และเพิ่มความเค็มน้ำมีแนวโน้มของอาการผิดปกติสูงขึ้น แต่ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการรอด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1344
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น