กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1331
ชื่อเรื่อง: | ฤทธิ์แอนติออกซิแดนท์และฤทธิ์ยับยั้งลิพิดเปอร์ออกซิเดชันของส่วนสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดจากโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Antioxidant activities and inhibitory effect on the lipid peroxidation of some herb extracts from Ban Ang-Ed Official Community Forest Project (The Chaipattana Foundation) at Chantaburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชัชวิน เพชรเลิศ เอกรัฐ ศรีสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | พืชพื้นบ้าน พืชสมุนไพร สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | จิก (Barrington augusta Kurz.) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Lecythidaceae มีสรรพคุณ ทางยาซึ่งใช้กันมาแต่่โบราณในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งในประเทศไทยด้วย โดยพืชที่นำมาศึกษาเป็นพืชที่อยู่ใน โครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี โดยจะศึกษาในส่วนสกัดย่อย ต่าง ๆ ของใบจิกได้แก่ส่วนสกัดเอทานอล ส่วนสกัดย่อยเฮกเซน ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตท และส่วนสกัดย่อยน้ำ นำมาตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยทำการทดสอบฤทธิ์กำจัดอนุมูล DPPH ทดสอบความสามารถในการรีดิวซ์ หาปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม และปริมาณฟลาโวนอยด์รวม นอกจากนี้ยังนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านลิพิดเปอร์ออกซิเดชันโดยทำการทดสอบค่าคอนจูเกตด์ไดอีน และ TBARS จากการทดลองพบว่า ผลของฤทธิ์การกำจัดอนุมูล DPPH ชี้ให้เห็นว่า ส่วนสกัดน้ำและเอทิลอะซิเตทของใบจิกมีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูล DPPH ได้ดี (ค่า EC50 ของส่วนสกัดน้ำ และเอทิลอะซิเตทของใบจิก วิตามินซี และบีเอชที เท่ากับ 0.0481±0.001, 0.0840±0.000, 0.017±0.001 และ 0.0231±0.001 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทมีความสามารถในการรีดิวซ์สูงที่สุด ทั้งนี้พบว่าส่วนสกัดย่อยน้ำมีปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมสูงที่สุดเท่ากับ 267.588 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของส่วนสกัด และส่วนสกัดเอทานอลมีปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์รวมเท่ากับ 22.53±0.70 มิลลิกรัมสมมูลของเควอร์เซตินต่อกรัมของส่วนสกัด และยังพบว่าส่วนสกัดเอทานอลช่วยยับยั้งการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชันทั้งปฏิกิริยาขั้นเริ่มต้น (Initiation) และปฏิกิริยาขั้นดำเนินไปของปฏิกิริยา (Propagation) โดยเปอร์เซ็นต์การยับยั้งลิพิดเปอร์ออกซิเดชันจะเพิ่มตามความเข้มข้นของสารสกัดน้ำของพืชพื้นบ้าน จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่า พืชพื้นบ้านที่นำมาวิจัยจากโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ดนั้นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ต้านลิพิด เปอร์ออกซิเดชันที่ดี |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1331 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2560_014.pdf | 10.91 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น