กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/132
ชื่อเรื่อง: | กระบวนการควบคุมและป้องกันโรคทางพันธุกรรมธาลัสซีเมียจากโรงเรียนสู่ชุมชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Thalassemia control and prevention process from school to community |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ พัชรินทร์ พูลทวี นิสากร กรุงไกรเพชร วันดี โตรักษา ตระกูลวงศ์ ฤาชา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ธาลัสสีเมียในเด็ก - - การป้องกันและควบคุม มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ - - วิจัย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เลือดจางในเด็ก - - การป้องกันและควบคุม |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยและพัฒนา (development and research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของโรคเลือดจางธาลัสซีเมียจากในดรงเรียนและถ่ายทอดสู่ครอบครัวและชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 77 คน จาก 2 โรงเรียน ใน 2 ชุมชนในภาคตะวันออก ที่สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเด็กวัยเรียนในชุมชน ดำเนินการพัฒนาโดยการประชุมผู้แทนหน่วย วิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรคและพาหะของโรค จัดกิจกรรมพัฒนาความรู้ ความตระหนักในนักเรียน รับการตรวจคัดกรองโรค นำเสนอผลโดยรวมสู่ผู้แทนหน่วยงานต่างๆเพื่อพัฒนาความตระหนัก และแผนงานควบคุมโรคในชุมชน ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการบันทึกเหตุการณ์ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยการใช้ข้อมูลหลายด้านและการสะท้อนข้อมูลการสรุปกลับสู่ผู้ให้ข้อมูลตรวจสอบ ส่วนการเก็บข้อมูลในนักเรียนใช้แบบสอบถามความรู้ ความตระหนัก และความตั้งใจในการตรวจคัดกรองซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นระดับ ปานกลาง สูงและค่อนข้างสูงตามลำดับ (α = .61 , .81 , .72 ตามลำดับ) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติพรรณนา และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (paired t test) ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการพัฒนามีลักษณะที่สำคัญ คือ การประสานงานกับผู้มีบทบาทในการตัดสินใจเชิงนโยบายในชุมชน การนำเสนอข้อมูลช่วยสร้างความตระหนักแก่ผู้เกี่ยวข้อง เด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้และยอมรับการตรวจคัดกรองโรค การเผยแพร่ความรู้โดยนักเรียนต่อครอบครัวและชุมชนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหลังจากกระบวนการพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารองค์กรในชุมชนมีผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาการตรวจคัดกรองโรคในโรงเรียนและในชุมชน นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความตระหนัก ความตั้งใจในการคัดกรองโรคเพิ่มมากขึ้น และยินดีตรวจคัดกรองโรค ผลการตรวจคัดกรองช่วยพัฒนาความตระหนักแก่ผู้บริหารงานสาธารณะสุข ผู้บริหารโรงเรียนที่จะเสนอแผนต่อชุมชน นอกจากนี้นักเรียนสามารถเผยแพร่ความรู้สู่ครอบครัวและชุมชนได้ในสัดส่วน 1 : 7.5 ข้อเสนอแนะพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรใช้เป็นแนวทาง และพัฒนาเป็นแผนงานการควบคุมและป้องกันโรคเลือดจางธาลัสซีเมียในโรงเรียนและชุมชนต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/132 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_102.pdf | 4.2 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น