กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1313
ชื่อเรื่อง: การอนุรักษ์เพลงละครร้อง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Conservation of the Operatic drama Songs
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประเทิน มหาขันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การอนุรักษ์
ละครร้อง
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ละครร้องของไทยเป็นการแสดงประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้เป้นหญิงล้วน ผู้แสดงเป็นผู้ขับร้องด้วยตนเอง แสดงท่าทางตามบทบาทด้วยตนเอง ลักษณะของการขับร้อง ผู้แสดงจะเป็นผู้ขับร้องเนื้อเพลงไปตามทำนองเพลง ส่วนลูกเอื้อนนั้น ลูกคู่จะเป็นผู้ร้องรับอยู่ภายในโรง เสน่ห์ของละครร้อง อยู่ที่ตัวผู้แสดง ซึ่งเป็นหญิง แต่แสดงบทบาทของชาย เสน่ห์อีกประการหนึ่ง ได้แก่ เนื้อร้องและทำนองเพลงซึ่งมีความไพเราะ ทำนองเพลงของละครร้อง เป็นเพลงที่มีความเร็วปานกลาง กล่าวคือ เป็นเพลงสองชั้นทำนองเพลงง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ซึ่งผู้ฟังสามารถร้องคลอได้ปัจจุบัน การละครร้องจัดได้ว่าสูญไปจากสังคมแล้ว ไม่มีการแสดงให้ชมอีกต่อไป ส่วนเพลงจากละครร้องก็ไม่มีผู้ใดที่สามารถขับร้องได้อีกแล้ว เพลงละครร้องส่วนใหญ่ได้สูญไปจากสังคม เป็นที่น่าเสียดายว่า หากไม่มีการอนุรักษ์เพลงเหล่านี้ ต่อไปอีกไม่นาน เพลงละครร้อง อาจจะสูญไปจากสังคมไทยอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยได้ทำการอนุรักษ์เพลงละครร้องด้วยการนำเอาเพลงจากละครร้อง อันประกอบด้วยเนื้อเพลง และทำนองเพลงนำมาจัดทำเป็นตัวโน๊ตจำแนกเป็นหมวดหมู่ ตามสำเนียงของเพลง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้บทเพลงละครร้อง คงอยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป ผลการวิจัยทำให้ได้บทเพลงพร้อมด้วยตัวโน๊ต จำนสน 268 บทเพลง ผลการวิเคราะห์บทเพลง ตามนัยทางสุนทรียแห่งคีตการ ปรากฏว่า ประกอบด้วย 5 ลักษณะ ได้แก่ หาสวาที เสาวรตนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง และสัจจาปังคพิสัย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1313
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น