กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1308
ชื่อเรื่อง: | การประเมินวารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An evaluation of educational journal faculty of education Burapha University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุปราณี เสงี่ยมงาม พงศ์เทพ จิระโร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การประเมินการใช้ วารสาร สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมการใช้สารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อประเมินความเหมาะสมของวารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อประเมินผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของวารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 122 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการประชุมวิพากษ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน สรุปผลการวิจัย ดังนี้ สรุปผลวิจัย พฤติกรรมการใช้วารสารศึกษาศาสตร์ เกี่ยวกับระยะเวลาพบว่า ผู้ตอบอ่านวารสารศึกษาศาสตร์นาน ๆ ครั้ง มากที่สุด (ร้อยละ 60.70) โดยมีผู้อ่านเป็นประจำทุกฉบับ คิดเป็นร้อยละ 23.80 และเมื่อพิจารณาสถานที่อ่านพบว่าอ่านจากหอสมุด มากที่สุดร้อยละ 32.8 รองลงมาอ่านจากที่ทำงาน (ร้อยละ 31.10) ความเหมาะสมของวารสารศึกษาศาสตร์ ความคิดเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รายข้อและโดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า ความคิดเห็นต่อวารสารศึกษาศาสตร์ ตามวัตถุประสงค์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บรรลุตามวัตถุประสงค์ร้อยละร้อย และบรรลุตามวัตถุประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก จุดที่ควรปรับปรุง ได้แก่ ควรปรับปรุงหน้าปกและรูปแบบการพิมพ์ การออกวารสารไม่ตรงต่อเวลา จำนวนครั้งที่ออกน้อยไป ควรเพิ่มเป็น 4 เล่มต่อปี เนื้อหาในเล่ม ควรมีลักษณะมีบทความของนักวิชาการเด่น ฉบับละ 1 เรื่อง ควรมีบทความเชิงสหวิทยาการและทันสมัยมากขึ้น จุดเด่นที่ควรรักษาไว้ คือวารสารมีจุดเด่นที่ มีความหลากหลาย ความเข้มข้นของการรักษาคุณภาพในการคัดกรอง สัดส่วนของผู้นำเสนองานวิชาการและงานวิจัยในฉบับ รูปแบบการจัดทำวารสาร และความคิดเห็นอื่น ๆ ที่เป็นจุดเด่นควรรักษาไว้ ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาระบบการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิให้มีความคล่องตัว รวดเร็วขึ้น เพื่อจะทำให้วารสารสามารถออกได้ตรงเวลายิ่งขึ้น ควรเผยแพร่ และส่งเสริมให้ศิษย์เก่าของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีโอกาสเข้าถึงในการส่งบทความทางวิชาการมาลงในวารสาร และรณรงค์ให้ศิษย์เก่าที่เป็นสมาชิกวารสารให้มากขึ้น ควรได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการกองบรรณาธิการในการเพิ่มจำนวนเล่มจะทำให้วารสารได้มีโอกาสเพิ่มกิจกรรมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการได้มากขึ้นตอบสนองความต้องการของสังคมมากขึ้น ควรได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการกองบรรณาธิการที่จะต้องพิจารณาโดยภาพรวมในแต่ละฉบับให้มีความสมดุล ทั้งบทความในสาขาและนอกสาขา อาจต้องปรับเป้าหมายของวารสารให้มีความครอบคลุมบทความวิจัยและบทความวิชาการสาขาอื่น ๆ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1308 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_167.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น