กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1279
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมคาน-เสา-แผ่นพื้นสำเร็จรูปคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาต้นริมที่ก่อสร้างในประเทศไทยภายใต้แรงแผ่นดินไหว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Behavio of reinforced concrete beam-column-plank slabs of exterior columns constructed in Thailand under earthquake load
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อานนท์ วงษ์แก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คาน
แผ่นพื้นสำเร็จรูปคอนกรีต
เสา
เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้เป็นการประยุกต์ใช้วิธีไฟไนอิลิเมนต์ในการวิเคราะห์หาพฤติกรรมการรับแรงของคาน-เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยเริ่มจากการพัฒนาแบบจำลองไฟไนอิลิเมนต์วัสดุคอนกรีต (Exp. 1, Exp.2) ทรงกระบอกขนาด 15x30 ซม. และแบบจำลองไฟไนอิลิเมนต์เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (RC1, RC2) หน้าตัดสี่เหลี่ยมขนาด 20x20 ซม. เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์แบบจำลองกับผลการทดสอบตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ จากนั้นทำการพัฒนาแบบจำลองไฟไนแอลิมเนต์ของคาน-เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (bc1, bc2) ผลการวิเคราะห์แบบจำลอง Exp.1 และ Exp.2 เทียบกับผลการทดสอบตัวอย่างพบว่าแบบจำลองมีความถูกต้อง แม่นยำสูง สามารถทำนายกำลังอัดของคอนกรีตได้ดีมาก โดยเฉพาะเมื่อใช้ข้อมูลค่าความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียดอัดของคอนกรีตจากผลการทดสอบคอนกรีตในห้องปฏิบัติการแบบจำลองเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก RC1 และ RC2 สามารถทำนายแรงอัดสูงสุดของเสาได้ค่อนข้างดีมีค่าคลาดเลื่อน จากผลการทดสอบเท่ากับ 2.09% และ 11.15% แต่ทำนายค่าการยุบตัว ณ ตำแหน่งแรงอัดสูงสุดได้น้อยกว่าผลการทดสอบพอสมควร นอกจากนี้ยังสรุปได้ว่าการใช้สมการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเค้นและความเครียดอัดของคอนกรีตโดย Desayi & Krishnan [21] กับแบบจำลองไฟไนอิลิเมนต์เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถทำนายค่าแรงอัดสูงสุดได้ดีมาก แต่อาจไม่สามารถทำนายค่าการยุบตัวได้ดีเท่าที่ควร ในส่วนของแบบจำลอง bc1 และ bc2 พบว่าพฤติกรรมของแบบจำลองข้อต่อ bc1 แสดงพฤติกรรมที่ดีกว่าแบบจำลองข้อต่อ bc2 อย่างชัดเจนทั้งในด้านการรับแรงและการเสียรูป ทั้งนี้เป็นผลมาจากการหยุดเหล็กในคานที่หน้าเสาโดยไม่ยื่นต่อเข้าไปในเสาของแบบจำลอง bc2 นอกจากนี้ยังพบว่าลักษณะรอยแตกร้าวของแบบจำลอง bc1 จะเกิดขึ้นทั่วบริเวณหลังคานส่วนของแบบจำลอง bc2 นั้นพบว่าตำแหน่งการแตกร้าวของแบบจำลองเกิดกระจุกตัวที่บริเวณรอยต่อระหว่างคานและเสาด้านบน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1279
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น