กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12782
ชื่อเรื่อง: | ศักดา ศักดินา ศักดิ์ศรี : ภาพลักษณ์ของอุดมการณ์หลักในละครโทรทัศน์ไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Power class and dignity: image of dominant ideology in Thai television drama |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุชาติ เถาทอง รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม แข มังกรวงษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ บทละครไทย บทละครไทย -- การวิเคราะห์ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยเรื่องศักดา ศักดินา ศักดิ์ศรี: ภาพลักษณ์ของอุดมการณ์หลักในละครโทรทัศน์ไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของอุดมการณ์ศักดา ศักดินา ศักดิ์ศรี ที่ถูกผลิตซ้ำและส่งผ่านภาพลักษณ์ต่าง ๆ ในละครโทรทัศน์ ตลอดจนสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทั้ง 3 ที่มีผลต่อโครงสร้างสังคมไทยในเชิงความคิด ทัศนคติ และการให้คุณค่า และสร้างสรรค์สื่อละครโทรทัศน์จากภายใต้แนวคิด ศักดา ศักดินา ศักดิ์ศรี และสรุปเป็นองค์ความรู้ หลังสร้างสรรค์ผลงานใช้ระเบียบวิจัยด้วยการกําหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือกลุ่มผลงาน ละครโทรทัศน์ที่ใช้เกณฑ์การผลิตซ้ำมากกว่า 5 ครั้ง จํานวน 5 เรื่อง ได้แก่ บ้านทรายทอง คู่กรรม ผู้ใหญ่ลีกับนางมา ผู้กองยอดรัก และแม่นากพระโขนง มาทําการวิเคราะห์ ตลอดจนรวบรวมข้อมูลจากนวนิยาย ตํานาน หนังสือและบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยลักษณะของเครื่องมือวิจัยใช้ทฤษฎีโครงสร้างวิทยาและทฤษฎีสัญญะวิทยา เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ 3 อุดมการณ์หลักที่ถูกผลิตซ้ำในละครโทรทัศน์ไทย คําถามการวิจัยคือละครโทรทัศน์ไทยที่ถูกผลิตซ้ำมากที่สุด จะทําการตอกย้ำอุดมการณ์ทั้ง 3 ด้วยโครงสร้างเนื้อหาเดิมและภาพลักษณ์เดิมหรือไม่ ตลอดจนโครงสร้างเนื้อหาและภาพลักษณ์ของอุดมการณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเช่นไร โดยองค์ความรู้จากการศึกษานี้จะทําให้เห็นโครงสร้างหลักของเนื้อหาในละครโทรทัศน์ และเกิดชุดความคิดที่เป็นแนวทางในการนําโครงสร้างหลักเหล่านั้นมาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ให้เกิดมิติที่ร่วมสมัย การวิจัยค้นพบว่าโครงสร้างของเนื้อหาหลักที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ทั้ง 5 เรื่อง เนื้อหาส่วนใหญ่จะเล่าผ่านความรักระหว่างชายหญิงทั้งสิ้น โดยอุดมการณ์ศักดินาจะปรากฏในเรื่องของชนชั้นทางชาติกําเนิด ทรัพย์สินเงินทองมากที่สุด อุดมการณ์ศักดาจะปรากฏคู่กับผู้ที่มีชนชั้นเหนือกว่ากระทําต่อผู้ที่ด้อยกว่าในมิติที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นความริษยาความเกลียดชัง หรือการโอ้อวดซึ่งฐานะและศักดามักจะตกอยู่กับตัวละครนางเอกในตอนท้ายเป็นหลัก อุดมการณ์ ศักดิ์ศรีจะปรากฏในเรื่องของความดีงาม คุณค่าทางจิตใจและการยึดมั่นในความเชื่อของตนเอง ซึ่งในแต่ละครั้งของการผลิตซ้ำจะถูกตีความในลักษณะรูปแบบเดิม ความหมายเดิมเหมือนกันทุกครั้ง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าโครงสร้างของละครที่ถูกผลิตซ้ำมากที่สุดนั้นแท้จริงแล้วเป็นโครงสร้างที่มีความแข็งแรงและพบได้ในโครงสร้างละครโทรทัศน์อีกหลากหลายเรื่องที่สามารถนำมาทําการถอดรื้อโครงสร้างและประกอบขึ้นใหม่ให้เกิดความร่วมสมัยได้ แนวทางสร้างสรรค์ ละครโทรทัศน์ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 โครงสร้างเดิมตัวละครเดิมเปลี่ยนแปลงเพียงบริบทระดับที่ 2 โครงสร้างเดิมตัวละครใหม่บริบทใหม่ ระดับที่ 3 นําโครงสร้างเดิมมาประกอบขึ้นใหม่ ด้วยบริบทและความหมายใหม่จากผลงานสร้างสรรค์ว่าละครโทรทัศน์สามารถใช้แนวคิดของการประกอบสร้างขึ้นใหม่ (Reconstruction) เพื่อทําการสร้างความหมายใหม่ บริบทใหม่ และรูปแบบโครงสร้างที่มีความอิสระให้สามารถสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ที่หลากหลายจากโครงสร้างเรื่องเดิมที่มีความแข็งแรง มีความเข้าถึงผู้ชมได้อย่างร่วมสมัย จะเห็นได้ว่าการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยนี้สามารถที่จะใช้ในการหาอุดมการณ์ในสื่อละคร โทรทัศน์และสื่ออื่น ๆ ได้อีกหลากหลายอุดมการณ์ ซึ่งจะสามารถทําให้เข้าใจถอดรหัสถึงค่านิยมความเชื่อทัศนคติของคนในสังคมไทย และสังคมวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ละครโทรทัศน์ ยังสามารถเป็นสื่อกลางในการศึกษา ทําความเข้าใจไปยังสิ่งต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทําความเข้าใจสังคม ศิลปวัฒนธรรม การพัฒนากระบวนการผลิตด้วยการผสมผสานกับศาสตร์อื่น และอีกหลากหลายมิติ เพราะละครโทรทัศน์เป็นสื่อกลางที่ทรงอิทธิพลในทุกสังคม |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12782 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 202.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น