กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12773
ชื่อเรื่อง: การออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Local museum design for interdisciplinary learning: Chachoengsao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิรวัฒน์ พิระสันต์
สุชาติ เถาทอง
จินดา เนื่องจำนงค์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
Humanities and Social Sciences
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
พิพิธภัณฑ์ชุมชน -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาการออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา พัฒนาแนวทางการออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา และศึกษาผลของการพัฒนาการออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากปราชญ์ชุมชน นักวิชาการ ผู้บริหารองค์กร และการสนทนากลุ่มตัวแทนประชากรในพื้นที่ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหามีความใกล้เคียงกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอื่นคืองบประมาณในการบริหาร จัดการมีจำกัด ขาดเจ้าหน้าที่และบุคลากรดูแลโดยตรง การจัดแสดงวัตถุรวมถึงการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นยังไม่น่าสนใจ ด้านความต้องการของพิพิธภัณฑ์คือการมีส่วนร่วมของบุคคลในชุมชนในด้านของการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ การปลูกผังให้เด็กและเยาวชนเกิดความรักในชุมชน 2. การศึกษาแนวทางการออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า การออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเชิงโครงสร้างของระบบบริหารจัดการควรเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ 3 แห่งเป็นหลัก คือ ตลาดคลองสวน ศูนย์การเรียนรู้บอนสีฯ และศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกันซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่วนการออกแบบนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 พื้นที่ คือ การจัดแสดงวัตถุแบบถาวรและการจัดพื้นที่แสดงวัตถุแบบชั่วคราว โดยเน้นการออกแบบกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้สัมพันธ์กับสื่อแสดงพร้อมทั้งเอกสารองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 3. ผลของการพัฒนาการออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พบว่า มีความเหมาะสมในการสื่อ ความหมายในรูปของการออกแบบนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ผ่านการสาธิต การแสดง การฝึกอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป โดขความร่วมมือจากชุมชน นอกจากนี้การออกแบบเชิงระบบบริหารจัดการ ยังได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและเกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภายนอก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. ) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12773
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf87.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น