กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12707
ชื่อเรื่อง: | ผลกระทบของน้ำมันดิบส่วนที่ละลายน้ำ (WAF) ต่อเนื้อเยื่อหอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of wter ccommodted frction (wf) of crude oil on tissue of oyster (sccostre cucullt) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุทิน กิ่งทอง สุภัททา เฉื่อยฉ่ำ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | หอยนางรมปากจีบ Science and Technology มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยครั้งนี้ศึกษาผลกระทบของน้ำมันดิบส่วนที่ละลายน้ำ (water accommodated fraction หรือ WAF) โดยการทดสอบความเป็นพิษแบบกึ่งเฉียบพลันของน้ำมันดิบส่วนที่ละลายในน้ำต่ออัตราการตายและเนื้อเยื่อของหอยนางรมปากจีบ นำหอยนางรมปากจีบมาเลี้ยงปรับสภาพในห้องปฏิบัติการและทดสอบผลกระทบของ WAF โดยใช้ความเข้มข้น 0, 6.25, 12.5, 25, 50 และ 100% ในระยะเวลา 96 ชั่วโมงและเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อผลการศึกษาพบว่า ไม่พบอัตราการตายของหอยนางรมปากจีบในกลุ่มควบคุม แต่พบอัตราการตายในทุกกลุ่มทดสอบ อย่างไรก็ดีอัตราการตาย ในกลุ่มทดสอบค่อนข้างต่ำ และไม่แตกต่างกัน (p>0.05) โดยพบอัตราการตายสูงสุดคือร้อยละ 10 ในกลุ่มทดสอบที่ระดับความเข้มข้น 100% ที่เวลา 96 ชวั่ โมง ผลการทดสอบในระดับเนื้อเยื่อใน 5 อวัยะ ได้แก่ กระเพาะอาหารเนื้อเยื่อลำไส้ต่อมย่อยอาหารแมนเทิลและเหงือก โดยใช้เทคนิค มิญชวิทยา แสดงให้เห็นว่า WAF ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อของหอยนางรมปากจีบ ทำ ให้เกิดลักษณะผิดปกติขึ้นในหลายระบบ โดยผลกระทบต่อเนื้อเยื่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ทดสอบและตามความเข้มข้นของ WAF ที่หอยนางรมปากจีบได้รับ แสดงให้เห็นว่า WAF ทำให้หอยนางรมปากจีบเกิดความเครียดขึ้นในกลุ่มทดสอบ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าหอยนางรมปากจีบมีการตอบสนองต่อ WAF โดยกระตุ้นกลไกการป้องกัน ตัวในระดับเซลล์ เช่น การสร้างเมือกเพื่อป้องกันตัวเองจากน้ำมันดิบ การเกาะกลุ่มของเมด็เลือด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการอักเสบเกิดขึ้น และยังพบ ความผิดปกติในต่อมย่อยยอาหาร สังเกตได้จากท่อของ digestive diverticulum มีลักษณะเป็ นรูกว้างขึ้น แฉกภายในต่อมย่อยอาหารเริ่มหายไป การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า WAF อาจไม่ก่อให้เกิดการตายในประชากรส่วนใหญ่ของหอยนางรมปากจีบ อย่างไรก็ดีการปนเปื้อนน้ำมันดิบ ในปริมาณมากส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อของหอยนางรมปากจีบ และอาจส่งผลกระทบต่อหน้าที่และการทำงานของอวัยวะสำคัญ และในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อประชากรทั้งในด้านการสืบพันธุ์ และการสร้างประชากรรุ่นใหม่อีกด้วย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12707 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
56910065.pdf | 4.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น