กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12705
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุบัณฑิต นิ่มรัตน์
dc.contributor.advisorวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
dc.contributor.authorกิตติธัช สุพรรณพันธุ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2024-02-05T06:13:53Z
dc.date.available2024-02-05T06:13:53Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12705
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558
dc.description.abstractในการศึกษาครั้งนี้ได้ทําการศึกษาถึงผลของสภาวะโลกร้อนต่อความหลากหลายของแบคทีเรียทางทะเลบริเวณชายหาดบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2554 จากผลการทดลองพบว่าอุณหภูมิของนํ้าทะเลและอุณหภูมิอากาศบริเวณบางแสน (ได้แก่ ตลาดอ่าง ศิลา, ท่าเรืออ่างศิลา, ชายหาดบางแสน และชายหาดวอนนภา) และพัทยา (ได้แก่ ตลาดนาเกลือ, ชายหาดพัทยาเหนือ, ชายหาดพัทยาใต้ และชายหาดจอมเทียน) ทั้ง 8 บริเวณ ที่ทําการศึกษาในครั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 25.00±0.00 ถึง 34.90±0.00 และ 25.30±0.60 ถึง 35.00±0.00 องศาเซลเซียส ตามลําดับ และจากการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของนํ้าทะเลและดินตะกอน ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่างของนํ้ าทะเล, ค่าความเป็นกรด-ด่างของดินตะกอน ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในนํ้าและความเค็มของทุกบริเวณที่ทําการศึกษาของหาดบางแสนและหาดพัทยาพบว่ามีค่า เท่ากับ 6.30± 0.00ถึง 9.69 ± 0.01, 7.35± 0.01ถึง 9.60± 0.10, 4.36±0.10 ถึง 10.71± 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 14 ถึง 34.0 พีพีที ตามลําดับ ส่วนการศึกษาการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของนํ้าทะเลกับแบคทีเรียทางทะเลพบว่าอุณหภูมิมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงปริมาณ แบคทีเรียทางทะเลในนํ้าทะเลบริเวณหาดวอนนภาเพียงบริเวณเดียวเท่านั้น (r 2 = 0.801, p-value = 0.005) ส่วนบริเวณอื่นพบว่าอุณหภูมิไม่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียทางทะเล รวมทั้งการจัดจําแนกชนิดแบคทีเรียทางทะเลทั้งหมดด้วยวิธีมาตรฐานจากตัวอย่างนํ้าทะเล และดินตะกอนพบว่าสามารถจัดจําแนกได้เป็น 4 วงศ์ คือวงศ์ Bacillales, วงศ์Pseudomonaceae, วงศ์Vibrionaceae และวงศ์ Enterobacteriaceae และชนิดของแบคทีเรียทางทะเลทั้งหมดที่พบในตัวอย่างนํ้าทะเลและดินตะกอนในแต่ละบริเวณจะพบแตกต่างกันไป ซึ่งจะพบชนิดของแบคทีเรีย ในวงศ์ Bacillales มากที่สุดรองลงมา คือ วงศ์ Pseudomonaceae, วงศ์ Vibrionaceae และ วงศ์ Enterobacteriaceae ตามลําดับ ในขณะที่แบคทีเรียกลุ่มที่เพาะเลี้ยงไม่ได้ในดินตะกอนและนํ้าทะเลบริเวณหาดบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่จัดอยู่ในไฟลัม Proteobacterium คือคลาส Alphaproteobacteria, Betaproteobacteria, Gammaproteobacteria, Deltaproteobacteria อีกทั้งยังพบแบคทีเรียในไฟลัม Cyanobacteria, Bacteroidetes, Firmicutes, Acidobacteria, Actinobacteria ในปริมาณตํ่า ซึ่งเมื่อทําการเปรี ยบเทียบความหลากหลายของชนิดแบคทีเรียทางทะเลพบว่าแบคทีเรียกลุ่มที่เพาะเลี้ยงไม่ได้มีความหลากหลายมากกว่าแบคทีเรียกลุ่มที่เพาะเลี้ยงได้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความหลากหลายของแบคทีเรีย -- หาดพัทยา (ชลบุรี)
dc.subjectScience and Technology
dc.subjectแบคทีเรียทะเล -- ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
dc.subjectความหลากหลายของแบคทีเรีย -- หาดบางแสน (ชลบุรี)
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจุลชีววิทยา
dc.titleผลของสภาวะโลกร้อนต่อความหลากหลายของแบคทีเรียทางทะเลบริเวณชายหาดบางแสน และพัทยา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
dc.title.alternativeEffect of globl wrming on mrine bcteril diversity t Bngsen nd Ptty beches, Chon Buri province, Thilnd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeIn this study, the effect of global warming on marine bacterial diversity at Bangsaen and Pattaya beaches, chon buri province, Thailand in the year 2011 was investigated. The results showed that seawater and air temperature of eight sampling sites from Bangsaen (as Ang-Sila market, Ang-Sila Pier, Bangsaen beach and Won Napha beach) and Pattaya (as Na Klua Market, North Pattaya beach, South Pattaya beach and Jomtein beach) beach areas in this study changed in the range of 25.00 ± 0.00 to 34.90 ± 0.00 and 25.30 ± 0.60 to 35.00 ± 0.00 °C, respectively. The physical properties of seawater and sediments including pH of seawater, pH of sediment, dissolved oxygen and salinity at Bangsaen and Pattaya beach were 6.30 ± 0.00 to 9.69 ± 0.01, 7.35 ± 0.01 to 9.60 ± 0.10, 4.36 ± 0.10 to 10.37 ± 0.01 mg/L and 3.0 to 34.0 ppt, respectively. Correlation analysis study revealed significant correlations between seawater temperature values and total marine bacterial concentration at Won-Napha beach site only (r 2 = 0.801, p-value = 0.005). The other sites showed no correlations between seawater temperature values and total marine bacterial concentration. Moreover, the identification of total culturable marine bacteria with standard technique isolated from seawater and sediment were classified into four families which were Bacillales, Pseudomonadaceae, Vibrionaceae and Enterobacteriaceae. Types of marine bacteria found in seawater and sediment in each area were different. The highest frequency found of those marine bacteria were Bacillales followed by Pseudomonaceae, Enterobacteriaceae and Vibrionaceae, respectively. While the most prevalent unculturable marine bacteria recovered from seawaters and sediment samples were identified as Proteobacteria which were class Alphaproteobacteria, Betaproteobacteria, Gammaproteobacteria and Deltaproteo-bacteria. A small numbers of bacterial phyla Cyanobacteria, Bacteroidetes, Firmicutes, Acidobacteria and Actinobacteria were also observed. Unculturable marine bacteria found in this study showed a higher diversity, compared to culturable marine bacteria.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineจุลชีววิทยา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
53910954.pdf5.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น