กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12690
ชื่อเรื่อง: การนำลวดลายไทยมาประยุกต์ : จากตู้พระธรรมสู่โคมไฟ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The pplying of thi pttern: scripture cbinet to lmp
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ ทองนพคุณ
บุญชู บุญลิขิตศิริ
ชัยพร ภูทัตโต
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
ลายไทย -- วิวัฒนาการ
ลายไทย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยบูรพา.
บทคัดย่อ: การทําวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์และออกแบบลวดลายที่มีที่มาจากศิลปะประจําชาติของไทย ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนมาถึงปัจจุบันโดยทําการศึกษาลวดลายรดน้ำที่อยู่บนตู้พระธรรมวัดเซิงหวายจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนปัจจุบันตู้พระธรรมวัดเซิงหวายนี้ได้ถูกนํามาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครตู้พระ ธรรมนี้เป็นศิลปะสกุลช่างชั้นครูในสมัยอยุธยา ซึ่งเรียกชื่อว่าครูวัดเซิงหวายที่มีความโดดเด่นในด้านความอ่อนช้อย และซับซ้อนของลวดลายอันประกอบสร้างจากลายไทยพื้นฐาน คือ ชุดลายกระหนก และสัตว์หิมพานต์ต่าง ๆ ซึ่งผู้วิจัยได้ทําการวิเคราะห์โครงสร้างของลวดลายไทยจากตู้พระธรรมด้วยเทคนิคการลดทอนรายละเอียด และสร้างสรรค์ลวดลายไทยประยุกต์จากเค้าโครงเดิม เริ่มต้นด้วยการสร้างลวดลายจากกระดาษ จากนั้นจึงเติมแต่งลวดลายประยุกต์ที่ได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จนได้มาซึ่ง ผลงานที่ครบถ้วน กลายเป็นภาพร่างโคมไฟที่ประกอบด้วยลวดลายประยุกต์อันงดงาม จากนั้นจึง ผลงานออกแบบที่ได้นั้น ไปจัดทําต้นแบบสามมิติ และนําต้นแบบที่ได้เข้าสู่กระบวนการวิจัย และการประเมินผลจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการออกแบบ จากนั้นจึงคัดเลือกลวดลายที่ได้รับความนิยม สูงสุด 3 รูปแบบ แล้วนํามาผลิตเป็นโคมไฟ โดยใช้วิธีฉลุด้วยเครื่องเลเซอร์ และทดลองผ่านวัสดุต่าง ๆ เติมแต่งชีวิตชีวาด้วยแสงไฟจากหลอดไฟลักษณะต่าง ๆ จนได้มาซึ่งโคมไฟลายไทยประยุกต์ ที่มีความงดงามคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ และสุนทรียะปรากฏเป็นโคมไฟที่อุดมไปด้วยประโยชน์ในการใช้สอย และอุดมไปด้วยกลิ่นอายของเอกลักษณ์ความเป็นไทย จากผลงานโคมไฟที่ได้จากงานวิจัยครั้งนี้ โดยผลการวิจัยพบว่าลวดลายไทยที่สื่อถึงความเป็นไทยที่สุด ลวดลายไทยที่มีความงดงามที่สุด และลวดลายไทยที่สื่อถึงตู้พระธรรมวัดเซิงหวายมากที่สุดคือลวดลายกระหนกซึ่งเมื่อนํามาออกแบบเป็นลวดลายไทยประยุกต์แล้วลวดลายที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากทั้งหมด 3 ลวดลาย (กระหนก, พฤกษา, สัตว์หิมพานต์) ก็ยังคงเป็นลวดลายกระหนก และเลือกใช้วัสดุในการทดลอง 3 ชนิด ได้แก่ ไม้ญี่ปุ่น (Shina Awagami), ไม้อัด และ สังกะสี จากผลการประเมินพบว่าวัสดุที่เหมาะสมจะนํามาผลิตเป็นโคมไฟมากที่สุด ได้แก่ ไม้ เนื่องจากมีความเป็นธรรมชาติ และสะท้อนอัตลักษณ์ของช่างฝีมือไทยได้เป็นอย่างดี โดยไม้ที่ใช้ออกแบบตกแต่งโคมไฟในครั้งนี้ ได้แก่ ไม้ญี่ปุ่น (Shina Awagami) มีความหนา 8 มิลลิเมตร เนื้อไม้เป็นสีตามธรรมชาติ (น้ำตาลอ่อน) และไม้อัดยาง ที่มีความหนา 10 มิลลิเมตร เนื้อไม้เป็นชั้นๆ เพราะถูกอัดด้วยเศษไม้จํานวนมาก ซึ่งกรรมวิธีในการผลิตที่ใช้ ได้แก่ การฉลุด้วยเลเซอร์ ซึ่งในขั้นตอนการผลิต เมื่อไม้ญี่ปุ่น (Shina Awagami) ได้ทําปฎิกริยากับความร้อนจากเครื่องยิงเลเซอร์แล้วผลที่ได้ คือ ได้เกิดลวดลาย รูปแบบใหม่ขึ้นบนเนื้อไม้ (สีนําตาลอ่อนผสมสีน้ำตาลแก่) ส่วน เมื่อไม้อัดโดนความร้อนจากเครื่องยิงเลอเซอร์ จะทําให้บริเวณเนื้อไม้ที่ถูกความร้อนเกิดเป็นสีเข้มขึ้น (สีน้ำตาลอมแดงเข้ม) ซึ่งโคมไฟที่ผลิตออกมานั้น มีด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบโปรงแสง และทึบแสง จากนั้นได้ทําการทดลองให้แสงแก่โคมไฟด้วยหลอดไฟ 2 ชนิด คือ หลอดใส และหลอดขุ่น ผลการทดลองพบว่า เมื่อโคมไฟรูปแบบโปร่งแสงได้รับแสงจากหลอดไฟแบบใส จะทําให้เกิดลวดลายไทยทั้งบนตัว โคมไฟ และเกิดเป็นเงาของลวดลายไทยที่พาดผ่านลงบนพื้น และหากโคมไฟโปร่งแสงได้รับแสงจากหลอดไฟแบบขุ่น ลวดลายของโคมไฟจะเด่นชัดเพียงบนตัวโคมเท่านั้น ส่วนโคมไฟในรูปแบบทึบแสงเมื่อได้รับแสงจากหลอดไฟทั้งสองแบบแล้ว ลวดลายที่ปรากฎก็จะปรากฏอยู่เพียงแค่บนตัวโคม โดยไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ซึ่งโคมไฟที่มีที่มาจากลวดลายไทยของตู้พระธรรมวัดเซิงหวายชิ้นนี้ ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ความงดงามอย่างไทยสามารถสื่ออารมณ์ และสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12690
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf51.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น