กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12688
ชื่อเรื่อง: ศิลปหัตกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว : อนุรักษ์และพัฒนา เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาหัตถกรรมชุมชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Art-crft brss of bn p-o: conservtion nd development for re dvnce in community’s crfts wisdom
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
ศักดิ์ชาย สิกขา
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
สักรินทร์ อินทรวงค์
มหาวิทยาลัยบูรพา.คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
ทองเหลือง
ศิลปหัตถกรรม
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
ประติมากรรมทองเหลือง
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ รูปแบบ วัสดุ เทคนิค และกรรมวิธีการทําของศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว อนุรักษ์ภูมิปัญญาและพัฒนาศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว และออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากการศึกษารูปแบบวัสดุ เทคนิคและกรรมวิธีการทําของศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ช่างหล่อหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และลวดลาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบทดลอง แบบสอบถามความพึงพอใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ต้นแบบหัตถกรรมทองเหลือง และแบบประเมินองค์ความรู้ศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว และแบบร่าง ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบ ประกอบด้วย 2 ประเภท คือ หัตถกรรมทองเหลือง แบบดั้งเดิม เช่น กระดิ่ง กระพรวน ชุดเชี่ยนหมาก และรูปแบบหัตถกรรมทองเหลือง แบบใหม่ เช่น เกวียนเทียมวัวจําลอง กําไล 2. วัสดุ พบว่า วัสดุที่ใช้ในงานหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว โดยกรรมวิธีการหล่อ แบบโบราณแบบสูญขี้ผึ้ง มี 2 ประเภท คือ วัสดุที่ใช้หล่อหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว เป็นโลหะผสม มีทองเหลือง ส่วนผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และยังมีส่วนผสมของโลหะอื่น ๆ เช่น ดีบุก อะลูมิเนียมและตะกั่ว และวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการหล่อทองเหลืองแบบสูญขี้ผึ้ง พบว่ามีด้วยกัน 10 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือแบบโบราณ ที่หาได้ในท้องถิ่น 3. เทคนิคและกรรมวิธีของศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว จากการศึกษาพอสรุป เป็นขั้นตอนได้ 18 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนเป็นงานที่ใช้ฝีมือในการทําทั้งสิ้น 4. การอนุรักษ์ภูมิปัญญาศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว เป็นการอนุรักษ์รูปแบบหัตถกรรมทองเหลือง และลวดลายหัตถกรรมทองเหลือง แบบดั้งเดิม และการอนุรักษ์เทคนิคและกรรมวิธีการหล่อแบบสูญขี้ผึ้ง 5. การพัฒนาศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว ได้ทําการทดลองหัตถกรรมทองเหลือง 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการทดลองหาส่วนผสมของหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว ด้วยกรรมวิธีการหล่อแบบโบราณแบบสูญขี้ผึ้ง พบว่า ทองเหลืองมีส่วนผสมของทองแดง 62.5 % สังกะสี 32.43 % ตะกั่ว 2.42 % ดีบุก 1.03 % อะลูมิเนียม 0.719 % มีความแข็ง 75.4 HV30 และสําริด มีส่วนผสมของทองแดง 75.4 % ดีบุก 18.33 % สังกะสี 5.52 % ตะกั่ว 0.484 % อะลูมิเนียม 0.261 % มีความแข็ง 209.5 HV30 ส่วนที่ 2การทดลองผสมทองเหลืองและสําริด พบว่า ได้ส่วนผสมของทองเหลืองที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากที่สุดกับการออกแบบหัตถกรรมทองเหลืองในรูปแบบ เครื่องตกแต่ง คือ มีส่วนผสมทองแดง 67.50 % สังกะสี 27.50 % ดีบุกหรืออะลูมิเนียม 5 % ส่วนผสมที่มีสมบัติเหมาะสมกับการออกแบบเครื่องใช้สอย คือ มีส่วนผสมทองแดง 62.50 % สังกะสี 32.50 % ดีบุกหรืออะลูมิเนียม 5 % ส่วนผสมที่มีสมบัติเหมาะสมกับการออกแบบเครื่องประดับ คือ มีส่วนผสมทองแดง 72.50 % สังกะสี 22.50 % ดีบุกหรืออะลูมิเนียม 5 % ส่วนผสมที่มีสมบัติเหมาะสมกับการออกแบบประติมากรรมแบบลอยตัว คือ มีส่วนผสมทองแดง 57.50 % สังกะสี 37.50 % ดีบุกหรืออะลูมิเนียม 5% และสําริดที่มีสมบัติเหมาะสมกับงานหัตถกรรมสําริดมากที่สุด คือ ส่วนผสมระหว่างทองแดง 72.50 % ดีบุก 22.50 % เงิน 5 % ใช้ในการทํากระดิ่ง ส่วนที่ 3 การทดลองหาค่าความดังของเสียงกระดิ่งทองเหลือง พบว่ากระดิ่งทองเหลืองที่มีเสียงดังมากที่สุด มีส่วนผสมทองแดง 57.50 % สังกะสี 37.50 % ดีบุก 5 % มีความหนาของขอบกระดิ่ง 10.25 มิลลิเมตร และความหนาของลิ้นกระดิ่ง 3 มิลลิเมตร ส่วนที่ 4 เป็นการทดลองสร้างลวดลาย บนหัตถกรรมทองเหลือง พบว่าได้วิธีการสร้างลวดลายบนหัตถกรรมทองเหลือง 6 วิธี คือการชุบโลหะ การกัดกรด การเจาะหรือการเขียนลายด้วยสว่าน การแกะสลัก การทําถมหรือการทําสี และการพ่นทราย 6. การสร้างสรรค์ผลงานศิลปหัตถกรรมทองเหลือง ได้ผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ ต้นแบบหัตถกรรมทองเหลือง 4 รูปแบบ คือ (1) เครื่องตกแต่ง เช่น เชิงเทียน โคมไฟ (2) เครื่องใช้สอย เช่น ถ้วย ถาด (3) เครื่องประดับ เช่น กําไล จี้ และ (4) ประติมากรรมแบบลอยตัว
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12688
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Walai2558-2559

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf38.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น