กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12654
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างศักยภาพครูในการส่งเสริมงานอาชีพของนักเรียนและชุมชนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of trinning curriculum for enriching techer’s competency on students nd the community crrees promotion through the school bsed mngement for locl development
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สุเมธ งามกนก
เกียรติศักดิ์ สังข์ด้วง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: หลักสูตรท้องถิ่น
หลักสูตรการศึกษา
Humanities and Social Sciences
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
การส่งเสริมอาชีพ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างศักยภาพครู ในการส่งเสริมงานอาชีพของนักเรียนและชุมชนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น และ 2) รับรองหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างศักยภาพครูในการส่งเสริม งานอาชีพของนักเรียนและชุมชนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโดยจัดฝึกอบรม เป็นเวลา 20 ชั่วโมง ทำการติดตามหลังการฝึกอบรม 1 เดือน เพื่อรับทราบผลพัฒนาการและความคงทนความรู้ของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ความรู้ เจตคติ และทักษะทางอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานครูเทศบาลเมืองระนอง นักเรียน และชุมชน จำนวน 212 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบวัดเจตคติ และแบบประเมินทักษะ เครื่องมือ ทั้ง 3 ฉบับ มีความตรงเชิงเนื้อ และความเชื่อมั่นสูง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนา การสัมพัทธ์และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) อาชีพในท้องถิ่นที่ครูมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา คือ การทำไข่เค็มดินขาว เจ้าบ้านน้อย อาหารท้องถิ่นแกงพุงปลา อาหารท้องถิ่นยาวเย อาหารท้องถิ่นหมี่ระนอง ขนมท้องถิ่นอาโป้ง ลูกประคบสมุนไพร และสมุดพอเพียง 2) หลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ กิจกรรม กระบวนการฝึกอบรม สื่อและการวัดและประเมินผล โดยผลการประเมินหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง 3) หลักสูตรฝึกอบรม มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์สามารถพัฒนากลุ่มตัวอย่าง ด้านความรู้เกี่ยวกับการงานอาชีพ และเจตคติต่องานอาชีพสูงขึ้นทุกคน โดยมีคะแนนพัฒนาการอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สำหรับด้านทักษะการปฏิบัติงานอาชีพ พบว่า อยู่ในระดับมาก หลังจากการติดตามผลการฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 1 เดือน คะแนนทั้ง 2 ส่วน ลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับมาก และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12654
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น