กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12653
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมนึก ทองเอี่ยม
dc.contributor.advisorสมุทร ชำนาญ
dc.contributor.authorอนงนาฎ บรรหาร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2024-01-25T08:46:51Z
dc.date.available2024-01-25T08:46:51Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12653
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติงานสอนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 จำนวน 265 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 105 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ (%) ร้อยละสะสม (% สะสม) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งจะต้องหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้น สภาพที่ควรจะเป็นในความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งจะต้องพัฒนาต่อไป ตามลำดับ ดังนี้ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา พบว่า ต้องการการพัฒนา ตามลำดับ ดังนี้ หลักการกระจายอำนาจ หลักการมีส่วนร่วม หลักความเสมอภาค หลักความโปร่งใส หลักฉันทามติ หลักประสิทธิภาพ หลักประสิทธิผล หลักนิติธรรม หลักการตอบสนอง และหลักภาระรับผิดชอบและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ตามลำดับ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ดังนี้ หลักการกระจายอำนาจ ควรมีการกระจายอำนาจในการทำงานอย่างเหมาะสมตามความสามารถและความชำนาญ หลักการมีส่วนร่วม ควรมีการสนับสนุนนโยบายการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน หลักความเสมอภาค ควรมีการสนับสนุนการบริหารงานอย่างเสมอภาคส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมีความเสมอภาคในการทำงานและรับผลประโยชน์ร่วมกัน หลักความโปร่งใสควรมีความโปร่งใสในการบริหารงานสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน หลักฉันทามติ ควรมีมติ ข้อตกลงร่วมกันอย่างชัดเจน หลักประสิทธิภาพ ควรมีการบริหารงานตามบริบทของโรงเรียน ดำเนินกิจกรรมโดยคำนึงถึงประโยชน์ และประสิทธิภาพสูงสุด หลักประสิทธิผล ควรมีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนตามบริบทของโรงเรียน หลักนิติธรรม ควรมีกฎ กติกา และข้อตกลงที่ชัดเจน หลักการตอบสนอง ควรมีการดำเนินงาน และกิจกรรมต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและทันสมัย หลักภาระรับผิดชอบควรมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร (เขตการศึกษา 1)
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา (เขตการศึกษา 1)
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectธรรมรัฐ
dc.titleการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
dc.title.alternativeGood governnce of medium schools under the office of skeo primry eductionl service re 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research was to study a good school administration according to good governance practice for medium schools under the office of Sakaeo Primary Education Service Area 1. The samples of this study was 265 teachers. The research instrument was a five scales rating questionnaire with 105 question items. The questionnaire had the reliability of .97. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, percentage, and modified priority need index. The findings were as follows: The actual medium school management under the office of Sakaeo Primary Education Service Area 1 as a whole was rated at a high level which needs improvement. The expected school managements were rated at the highest level that need further development, they were: the needs for development on decentralization concept, participative principle, equality principle, transparency principle, consensus principle, effectiveness and efficiency principle, legal principle, responsiveness principle, and responsibility principle, respectively. The additional suggestions for the school management according to the good governance were as follows. For the decentralization principle, there should be the appropriate decentralization according to skills and competency. For the participative principle, there should be a support on policy of participation in working together. For the equality principle, there should be a support for equal opportunity in management, encouraging all parties to have equal right in their work and receive their mutual benefit. For the transparency principle, there should be transparency in management, could be audited at any working steps. The consensus principle, there should be a clear mutual consensus. The efficiency, there should be a management according to school context, operating under the most efficiency and benefit. The effectiveness principle, there should be clear goal and direction according to school context. The legal principle, there should be clear rule regulation and clear agreement. The responsive principle, there should be quick and updated operation. The responsibility principle, there should be clear responsibility assignment.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น