กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12651
ชื่อเรื่อง: การประเมินอภิมานการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Met evlution for student dmission in secondry school
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ผลาดร สุวรรณโพธิ์
พงศ์เทพ จิระโร
อรจิรา ยอดคำ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: Humanities and Social Sciences
นักเรียนมัธยมศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
การประเมินอภิมาน
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การรับนักเรียน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินอภิมานการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล และวิเคราะห์กระบวนการประเมินการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างคือครู ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการรับนักเรียนจำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินการรับนักเรียนเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ลักษณะคำถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ครอบคลุมมาตรฐานการประเมินอภิมาน 4 ด้าน ประกอบด้วย มาตรฐานด้านอรรถประโยชน์ (Utility standards) มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ (Feasibility standards) มาตรฐานด้านความเหมาะสม (Propriety standards) มาตรฐานด้านความถูกต้อง (Accuracy standards) และคำถามปลายเปิดปัญหา/ อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการประเมินการรับนักเรียนมัธยม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินอภิมานการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลโดยภาพรวมทุกมาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก ในด้านอรรถประโยชน์ค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือก สถานที่สอบ และห้องสอบอย่างชัดเจนอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยผลการประเมินน้อยที่สุดคือการออกแบบทดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียนมีเนื้อหาครอบคลุมและตรงกับระดับความรู้ของนักเรียน ด้านความเป็นไปได้ค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือโรงเรียนมีการกำหนดนโยบายและแผนการรับนักเรียนอย่างเหมาะสมดีมาก ค่าเฉลี่ยผลการประเมินน้อยที่สุดคือการตรวจแบบทดสอบโดยผู้มีประสบการณ์ ความรู้ และตรวจทานมากกว่า 1 ครั้ง ด้านความเหมาะสมค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือโรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการรับนักเรียนอย่างชัดเจนอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย ผลการประเมินน้อยที่สุดคือโรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการออกแบบทดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียน และด้านความถูกต้องค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือโรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการรับนักเรียนอย่างชัดเจนดีมาก ค่าเฉลี่ยผลการประเมินน้อยที่สุด คือ แบบทดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียนเป็นแบบทดสอบที่มีมาตรฐานผ่านการรับรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลการประเมินการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลของผู้ประเมินที่มีภูมิลำเนา ขนาดโรงเรียนและประเภทของโรงเรียนแตกต่างกันมีผลการประเมินอภิมานแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภูมิลำเนาที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือภาคกลาง น้อยที่สุดคือภาคเหนือ ขนาดโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ น้อยที่สุดคือโรงเรียนขนาดเล็ก ประเภทของโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินมากที่สุดคือโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง น้อยที่สุดคือโรงเรียนทั่วไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12651
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น