กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12650
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสำหรับผู้ดูแลเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A trining curriculum development in children with intellectul disbilities for Cregiver Specil Eduction Centre
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิชิต สุรัตน์เรืองชัย
ปริญญา ทองสอน
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
ดนยา อินจำปา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความบกพร่องทางสติปัญญา
Humanities and Social Sciences
ผู้ดูแลเด็ก -- การฝึกอบรม
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
เด็กปัญญาอ่อน -- การดูแล
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสำหรับผู้ดูแลเด็ก ศูนย์การศึกษาพิเศษ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสำหรับผู้ดูแลเด็ก ศูนย์การศึกษาพิเศษ 3) เพื่อติดตามผล การนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสำหรับผู้ดูแลเด็ก ศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน 25 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ใช้เวลาในการทดลองจำนวน 22 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะ และแบบวัดเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t - test) โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนาหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตรภาคสนาม 4) การติดตามประเมินผลการนำความรู้ไปใช้ ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้หลักสูตรฝึกอบรมที่มีคุณภาพในระดับดีมาก มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ สามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมได้จริง 2) การหาประสิทธิผลของหลักสูตรจากผลการเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาของผู้ดูแลเด็ก หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินการฝึกทักษะของผู้ดูแลเด็กมีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และผลการเปรียบเทียบคะแนนวัดเจตคติของผู้ดูแลเด็กต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการติดตามประเมินผลการนำความรู้เรื่องการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาของผู้ดูแลเด็กไปใช้ปฏิบัติหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว 2 สัปดาห์ พบว่าผู้ดูแลเด็กมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มมากขึ้น มีทักษะในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มมากขึ้น และมีเจตคติที่ดีต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มมากขึ้น
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12650
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น