กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12648
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุรินทร์ สุทธิธาทิพย์
dc.contributor.advisorวรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
dc.contributor.authorนิสรา คำมณี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2024-01-25T08:46:50Z
dc.date.available2024-01-25T08:46:50Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12648
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีรูปแบบดังนี้ R1 ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรึกษากลุ่มบูรณาการพหุทฤษฎีและเหตุผลเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ของผู้ต้องขังหญิง D1 สร้างและตรวจสอบรูปแบบการปรึกษากลุ่มบูรณาการพหุทฤษฎี ต่อเหตุผลเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ R2 ทดลองใช้กับผู้ต้องขังหญิง จำนวน 5 ครั้ง D2 ศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบูรณาการพหุทฤษฎี จากนั้นทำการรับรองรูปแบบการปรึกษากลุ่มบูรณาการพหุทฤษฎี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ต้องขังหญิงที่มีคดีต้องโทษ 10 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในทัณฑสถานหญิงชลบุรี ที่มีคะแนนแบบวัดเหตุผลเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ ในระดับต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 จากนั้นให้ทำแบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q) ของกรมสุขภาพจิต และคัดเลือกเฉพาะผู้ที่ได้คะแนน 8Q เท่ากับ 0 และได้สอบถามความสมัครใจเพื่อเข้าร่วมโปรแกรม ได้จำนวน 22 คน สุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 11 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดเหตุผลเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ แบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q) และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบูรณาการพหุทฤษฎีระหว่างทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมและทฤษฎีเผชิญความจริง การทดลองแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ ก่อนทดลอง ระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผล โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบูรณาการพหุทฤษฎี สัปดาห์ละ 3 ครั้ง จำนวน 6 สัปดาห์ รวมเป็น 17 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที และกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบูรณาการพหุทฤษฎี ผลการวิจัย พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ต้องขังหญิงที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบูรณาการพหุทฤษฎีมีเหตุผลเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ต้องขังหญิงที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบูรณาการพหุทฤษฎีมีเหตุผลเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าในระยะ ก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวืทยาการปรึกษา
dc.subjectวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.subjectนักโทษหญิง -- การดำเนินชีวิต
dc.titleการพัฒนาการบูรณาการ การปรึกษากลุ่มแบบพหุทฤษฎีระหว่างทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมและทฤษฎีเผชิญความจริงเพื่อเสริมสร้างเหตุผลเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิง
dc.title.alternativeA development of integrtive multi-theoreticl group counseling: existentil nd relity therpy to enhncing the resons for living of femle inmtes
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study is a research and development study. The process started with R1, reviewing literature on integrative multi-theoretical group counseling, reasons for living of female inmates. The D1 was developing and testing the model of integrative multi-theoretical group counseling on reasons for living. R2 was try-out multi-theoretical group counseling program 5 sessions. D2 was assessing the result of using the program and validating the model of integrative multi-theoretical group counseling based on existential and reality therapy. The participants were female inmates in the Chonburi Detention Center sentenced for more than 10 years. They were selected by measuring their reasons for living, those who gained the score of less than the 25 percent were selected for the study. They were asked to fill in the 8Q suicide screening test developed by the Department of Mental Health. Twenty two participants who scored 0 on the suicide screening test were picked and match-paired, then were assigned into an experimental group and control group, 11 participants each. The instruments were the reason for living scale, the suicide screening test (8Q), and the integrative multi-theoretical group counseling program using existential and reality therapy. The experiment was conducted in three phases, namely the pre-trial, post-trial, and the follow-up. The experimental group received counseling based on the integrative multi-theoretical group program using existential and reality therapy three sessions a week for six weeks, totaling 17 sessions. Each session lasted 60-90 minutes. On the other hand, participants in the control group did not.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineจิตวืทยาการปรึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น