กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12636
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorธนวิน ทองแพง
dc.contributor.advisorชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.authorพิชิต จินดาศรี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2024-01-25T08:46:48Z
dc.date.available2024-01-25T08:46:48Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12636
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา และสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จากนั้นนำแบบสอบถามที่ได้กลับคืนมาทำการวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดสระแก้ว โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการบริหารงานแนะแนว มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2. ระดับประสิทธิผลงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดสระแก้ว โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบริการจัดวางตัวบุคคล ด้านบริการรวบรวมข้อมูล ด้านบริการติดตามและประเมินผล ด้านบริการสารสนเทศ และด้านบริการให้คำปรึกษา ตามลำดับ 3. ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยการบริหารงานแนะแนว ครู และบรรยากาศโรงเรียนกับประสิทธิผลงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดสระแก้วโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ปัจจัยด้านการบริหารงานแนะแนว(AD) ปัจจัยด้านครู (TE) และปัจจัยด้านบรรยากาศโรงเรียน(CL) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษาได้ โดยปัจจัยทั้ง 3 ด้าน เป็นตัวพยากรณ์ได้ดีที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณสะสมทั้ง 3 ปัจจัย .974 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลงานแนะแนวในโรงเรียนได้ร้อยละ 94.90 และสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษาในรูปสมการคะแนนดิบ ดังนี้ Y = 20.24 + .71 (AD) +.99 (TE) + 2.99 (CL)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.subjectการให้คำปรึกษาในการศึกษาขั้นมัธยม
dc.subjectการแนะแนวการศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา?'
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดสระแก้ว
dc.title.alternativeThe fctors influence towrd effectiveness in school guidnce of the secondry school under the Secondry Eductionl Service Are Office 7 Skeo Province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study factor level, level of the guided administration, teacher and school climate, level of guided effectiveness, to study relations between guided administration, teacher and school climate with the guided effectiveness and to created predicted equation toward the guided effectiveness in secondary school. 234 secondary school teachers were randomly selected to be the samples. Questionnaires were used as tools in data collection. Statistical analysis was performed in terms of Average, Standard Deviation, Pearson’s Product Moment Correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis. The results revealed that: 1. The factors influence toward guided effectiveness in school under The Secondary Educational Service Area Office 7 Sa Kaeo Province as a whole was at a more level. 2. Level of guided effectiveness in secondary school as a whole and each side was at a more level which could put in order of important sides as following; Personal placement service, Data collection service, Follow-up service, Information service and Advisory service 3. The guided administration, teacher and school climate factors related with the guided effectiveness in school under The Secondary Educational Service Area Office 7 Sa Kaeo Province as a quite high level a with statistical significance at level .01. 4. The factors influence toward guided effectiveness in school under The Secondary Educational Service Area Office 7 Sa Kaeo Province which could be selected as the best predictors were guided administration, teacher and school climate factor. The collective correlation coefficient of three factors mentioned was .974 with statistical significance at level .05. The predicted power was found of being 94.90 percent. The predicted equation in form of raw data of guided effectiveness in school under The Secondary Educational Service Area Office 7 Sa Kaeo Province was: Y = 20.24 + .71 (AD) +.99 (TE) + 2.99 (CL)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น