กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12627
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนดีเด่นขนาดเล็กของรัฐ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mobiliztion model of eductionl resources for smll size school
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธร สุนทรายุทธ
บุปผา ศิริรัศมี
พิสิษฐ ภู่รอด
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: Humanities and Social Sciences
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
โรงเรียนขนาดเล็ก -- การบริหาร -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนดีเด่นขนาดเล็กของรัฐโรงเรียนบ้านแขวงกลั่น (จี๊ด น้อยใจบุญบำรุง 2) โดยใช้เทคนิคการวิจัยการเชิงคุณภาพ ซึ่งมีประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ แนวทาง และค้นหารูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โดยทำการศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 58 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ระดับลึกการสนทนากลุ่ม และการสังเกตและจดบันทึก ผลการวิจัยพบรูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนดีเด่นขนาดเล็กของรัฐมีแนวคิดในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 1) ความสำคัญของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย2) การอำนวยความสะดวก 3) การสร้างความสัมพันธ์ 4) การสร้างความศรัทธาของผู้บริหารและครู มีหลักการระดมทรัพยากร 3 หลักการ คือ 1) หลักความร่วมมือ ประกอบด้วยการรับรู้ถึงปัญหาของทุกฝ่ายที่จะร่วมกันคิด ตัดสินใจและให้ข้อเสนอแนะการตัดสินใจการลงมือกระทำ ตามกระบวนการและตัดสินใจ เป็นการนำข้อตกลงที่ได้ตัดสินใจเลือกตามแผนที่วางไว้มาลงมือกระทำตามเป้าหมายร่วมกัน หลังจากนั้นจะดำเนินการติดตามตรวจสอบผลงานที่ทำร่วมกัน รวมทั้งการร่วมกันประชุมปรึกษาหารือหรือปรับปรุงแก้ไขพัฒนางานให้ดีขึ้น และการรับผลประโยชน์เป็นเจ้าของร่วม เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม 2) หลักภาวะผู้นำแบบเพื่อนแท้ของผู้บริหารสถานศึกษา 3) หลักการบริหารแบบบ้านแขวงกลั่นที่มีลักษณะเฉพาะของโรงเรียน ประกอบด้วย การศึกษาถึงพฤติกรรมการระดมความคิด เพื่อให้ได้ข้อมูลในการตัดสินใจและร่วมกันวางแผน ใช้องค์ความรู้ที่เกิดจากการร่วมกันศึกษา ค้นคว้า ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในโรงเรียนมาสร้างให้เกิดองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและกำหนดกุญแจสู่ความสำเร็จของคณะทำงานที่ร่วมกันดำเนินการ และเกิดแนวทางในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 2 แนวทาง คือ 1) คณะกรรมการดำเนินงาน และการบริหารจัดการในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน คำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12627
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น