กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12625
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุชาดา กรเพชรปาณี | |
dc.contributor.author | วิทวัส เพ็ญภู่ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2024-01-25T08:46:46Z | |
dc.date.available | 2024-01-25T08:46:46Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12625 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 | |
dc.description.abstract | การมองเห็นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดและส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างต้องมีความสามารถในการมองเห็น ตัดสินใจ และมีสมาธิจดจ่อ มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และการควบคุมรถ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถ การรับรู้ทางการมองเห็นของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างด้วยโปรแกรมฝึกติดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบสามมิติ และศึกษาผลของการฝึกติดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบสามมิติ โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความสามารถการรับรู้ทางการมองเห็นก่อนกับหลังการฝึก ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ในตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบบแผนการทดลองเป็นแบบสุ่ม 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมฝึกติดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบสามมิติ และแบบวัดความสามารถการรับรู้ทางการมองเห็น (DTVP-A) กลุ่มทดลองใช้ระยะเวลาในการฝึกครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยปรากฏว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถการรับรู้ทางการมองเห็นหลังการฝึกติดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบสามมิติดีขึ้นกว่าก่อนการฝึกติดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบสามมิติ และดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การฝึกโปรแกรมฝึก ติดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบสามมิติอย่างต่อเนื่องช่วยเพิ่มความสามารถการรับรู้ทางการมองเห็นของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างได้ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การรับรู้ | |
dc.subject | การรับรู้ทางสายตา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.subject | Health Sciences | |
dc.subject | การมองเห็น | |
dc.subject | การเห็น | |
dc.title | การเพิ่มความสามารถการรับรู้ทางการมองเห็นของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างด้วยโปรแกรมฝึกติดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบสามมิติ | |
dc.title.alternative | Enhncing visul perception bility of motorcycle txi riders by using 3d motion object trcking trining progrm | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Vision is the most important sense and it affects the safety of motorcyclists. The motorcycle taxi riders must have the visual perception, decision-making, attention, and spatial abilities as well as motorcycle control. The purposes of this study were: to enhance the visual perception ability of motorcycle taxi riders by using a 3D motion object tracking training program, and to evaluate its effectiveness by comparing the difference average scores of visual perception ability between preand-post tests within and between experimental and control groups. Sixty motorcycle taxi riders were volunteers and recruited from Chonburi, Thailand, and they were randomly assigned to experimental and control groups. The study was a Pre-test/ Post-test control group design. The instrument consisted of the 3D motion object tracking training program and Development Test of Visual Perception – Adolescent and Adult (DTVP-A). A 30-minute training session was administered for twice a week covering five weeks in total. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test. Results revealed that the experimental group had a significantly higher visual perception ability score after training. In addition, the post-treatment average score in the experimental group was significantly higher than that of the control group at the .05 level of statistical significance. In sum, the continuous training with the 3D motion object tracking program can improve the visual perception ability of motorcycle taxi riders. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 5.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น