กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12606
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จังหวัดกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of consumer helth promoting progrm on cosmetics usge behvior mong students in secondry eductionl service re office 1 bngkok |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิภา มหารัชพงศ์ ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม วิไลลักษณ์ จันทร์แผง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | นักเรียน -- การปรับพฤติกรรม นักเรียน -- พฤติกรรม Humanities and Social Sciences มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรม การใช้เครื่องสำอางของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จังหวัด กรุงเทพมหานคร โดยประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่ม จำนวน 2 โรงเรียน โดยแบ่งเป็นโรงเรียนที่เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โรงเรียนละจำนวน 35 คนเท่า ๆ กัน ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ 9 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นระยะที่กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ จำนวน 5 สัปดาห์ และระยะติดตามผล จำนวน 4 สัปดาห์ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคประกอบด้วย การรับรู้ ความรุนแรงของการใช้เครื่องสำอางอันตราย การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเลือกใช้เครื่องสำอาง ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการเลือกใช้เครื่องสำอาง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการเลือกซื้อเครื่องสำอาง และความตั้งใจในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการใช้เครื่องสำอางอันตราย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาแสดงเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Independent t-test และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันเครื่องสำอางอันตราย และความคาดหวังผลลัพธ์ในการป้องกันเครื่องสำอางอันตรายสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < .05) แต่อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มทดลองไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างก่อนและหลังการทดลองในเรื่องความตั้งใจปฏิบัติ ตนป้องกันเครื่องสำอางอันตราย และกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของทุกตัวแปรภายหลังการทดลอง การจัดโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางและพฤติกรรมเสี่ยงในการเลือกซื้อเครื่องสำอางของนักเรียนสามารถเพิ่มการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความคาดหวังผลลัพธ์และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการป้องกันการใช้เครื่องสำอางอันตราย ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมการเลือกใช้เครื่องสำอางที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นได้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12606 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น