กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1259
ชื่อเรื่อง: แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาการไหลของน้ำในแม่น้ำ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mathematical model to study the river flow
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกอุ ธรรมกรบัญญัติ
อดิชัย พรพรหมินทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วิธี Cubic Interpolated Propagation (CIP) scheme ซึ่งพัฒนาโดย Yabe และคณะ โดยรับการยอมรับเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิธีนี้ให้ความแม่นยำลำดับที่ 3 ในสเปซ โดยมีการนำวิธี CIP scheme ไปใช้ในปัญหาทางด้านกลศาสตร์ของไหลมากกมาย ซึ่งครอบคลุมทั้งของไหลที่อัดตัวได้และอัดตัวไม่ได้ ในโครงการนี้ ได้ทำการศึกษาวิธี CIP scheme สำหรับปัญหาหนึ่งมิติทางชลศาสตร์ โดยเริ่มแรกนั้นได้เปรียบเทียบวิธี CIP scheme กับวิธี Upwind scheme ด้วยสมการการนำพาทั้งแบบที่มีและไม่มี Source term พบว่าวิธี CIP scheme ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับผลเฉลยแม่นตรงกว่าวิธี Upwind scheme เป็นอย่างมาก ขั้นต่อมาได้ใช้สมการการนำพาและการแพร่กระจายในการเปรียบเทียบวิธี CIP, Upwind และ Central schemes พบว่าวิธี CIP ยังคงให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับผลเฉลยแม่นตรงที่สุด สุดท้ายได้นำวิธี CIP scheme มาประยุกต์ใช้สมการการไหลน้ำตื้นหนึ่งมิติ (Schallow water equations) ในปัญหาน้ำหลากโดยฉับพลัน นอกจากนี้ได้ทำการทดลองเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยแบ่งการทดลองทั้งหมดออกเป็น 4 กรณี สำหรับการทดลองกรณีที่ 1 และ 2 ใช้ฝายสันกว้างชนิดสันคม โดยกรณีที่ 1 มีอัตราการไหลเป็น 980 ลิตร/นาที ค่าความชันของรางน้ำ 0.0015 ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานความขรุขระ 0.009 ส่วนกรณีที่ 2 มีอัตราการไหลเป็น 1030 ลิตรต่อนาที ค่าความชันของรางน้ำ 0.0007 ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานความขรุขระ 0.009 ตามลำดับ สำหรับกรณีที่ 3 และ 4 ใช้ฝายน้ำล้นแบบไหลข้าม โดยกรรีที่ 1 มีอัตราการไหลเป็น 500 ลิตร/นาที ค่าความชันของรางน้ำ 0.0005 ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานความขรุขระ 0.009 ส่วนกรณีที่ 2 มีอัตราการไหลเป็น 1500 ลิตรต่อนาที ค่าความชันของรางน้ำ 0.002 ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานความขรุขระ 0.008 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อนำผลการทดลองที่ได้ไปเรียบเทียบกับแบบจำลอง พบว่า แบบจำลองสามารถคำนวณแนวโน้มลักษณะการไหลของน้ำได้ใกล้เคียงกับการทดลองมาก และสามารถคำนวณตำแหน่งการเกิดน้ำกระโดดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งแสดงให้เห็นความสามารถของวิธี CIP scheme ในการนำมาประยุกต์ใช้สำหรับสมการการไหลน้ำตื้นหนึ่งมิติได้ และสามารถประยุกต์ใช้กับปัญหาทางชลศาสตร์ที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ในอนาคต
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1259
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น