กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12510
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสรี ชัดแช้ม | |
dc.contributor.author | จิราพร เวชวงศ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2024-01-25T08:41:14Z | |
dc.date.available | 2024-01-25T08:41:14Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12510 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความอยู่ดีมีสุขเชิงอัตวิสัยของนิสิตระดับปริญญาตรี จำแนกตามเพศ ชั้นปีที่ศึกษา และระดับการจัดการแบบเชิงรุก กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จำนวน 200 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย มาตรวัดระดับการจัดการแบบเชิงรุกและมาตรวัดความสุขของคนไทยในรูปแบบการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแปรปรวนพหุแบบทางเดียว (One-way MANOVA) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ผลการเปรียบเทียบเมื่อจำแนกตามเพศ ความอยู่ดีมีสุขเชิงอัตวิสัยในด้านความพึงพอใจในชีวิตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตเพศหญิงมีความพึงพอใจในชีวิตสูงกว่านิสิตเพศชาย 2. ผลการเปรียบเทียบเมื่อจำแนกตามชั้นปีที่ศึกษา ความอยู่ดีมีสุขเชิงอัตวิสัยในด้านความพึงพอใจในชีวิตและด้านอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตที่ศึกษาในชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 มีความพึงพอใจในชีวิตสูงกว่านิสิตที่ศึกษาในชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 และนิสิตที่ศึกษาในชั้นปีที่ 4 มีอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวกสูงกว่านิสิตที่ศึกษาในชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 3. ผลการเปรียบเทียบเมื่อจำแนกตามระดับการจัดการแบบเชิงรุก ความอยู่ดีมีสุขเชิงอัตวิสัยในด้านความพึงพอใจในชีวิต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตที่มีระดับการจัดการแบบเชิงรุกสูงมีความพึงพอใจในชีวิตสูงกว่านิสิตที่มีระดับการจัดการแบบเชิงรุกปานกลางและต่ำ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | |
dc.subject | นักศึกษา -- การดำเนินชีวิต | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.subject | Humanities and Social Sciences | |
dc.subject | สุขภาวะ | |
dc.subject | การดำเนินชีวิต | |
dc.title | ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อความอยู่ดีมีสุขเชิงอัตวิสัยของนิสิตระดับปริญญาตรี | |
dc.title.alternative | Individul differences relted to undergrdute students’ subjective well-being | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to compare the undergraduate students’ subjective well-being by gender, year of study, and proactive coping strategies. Participants were 200 undergraduate students of Burapha University, Chon Buri. The sample was selected by multistage random sampling. The research instruments were proactive coping strategies scale and Thai happiness scale in the computerized adaptive testing version. The data were analyzed by mean, standard deviation, and one-way MANOVA. The results showed that: 1. There was a significant difference at the .05 level between genders on the life satisfaction component of subjective well-being; female students had higher life satisfaction than male. 2. There were significant differences at the .05 level between years of study on life satisfaction and positive affect components of subjective well-being, namely, the third- and fourth-year undergraduate reported higher life satisfaction than the first- and second-year undergraduate students. In addition, the fourth-year undergraduate students had a higher positive affect than the first-, second-, and third-year undergraduate students. 3. There was a significant difference at the .05 level between proactive coping strategies on the life satisfaction component of subjective well-being. Specifically, the undergraduate students with the high level of proactive coping strategies had a higher life satisfaction score than the undergraduate students with medium and low levels of proactive coping strategies. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 5.95 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น