กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1243
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจิตติมา เจริญพานิช
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:21Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:21Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1243
dc.description.abstractการใช้สารพิษอะคริลาไมด์ที่มีแนวโน้มเป็นสารก่อมะเร็งในคนอย่างกว้างขวางส่งผลให้พบการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม แต่ในความเป็นพิษของอะคริลาไมด์ยังมีจุลินทรีย์บางชนิดสามารถใช้พลังงานจากอะคริลาไมด์ในการเจริญได้ โดยเกิดการสลายอะคริลาไมด์เป็นแอมโมเนียและกรดอะคริลิก จากการทำงานของเอนไซม์อะมิเดส (EC 3.5.1.4.) ด้วยปฏิกิริยาดีอะมิเนชั่น ในโครงงานวิจัยนี้ได้มุ่งเป้าไปที่การใช้เทคนิคพีซีอาร์หาลำดับนิวคลีโอไทด์ของชิ้นยีนอะลิฟาติกอะมิดิสใน Enterobacter aerogenes ซึ่งเป็นแบคทีเรียสลายอะคริลาไมด์ชนิดใหม่ที่คัดแยกได้จากน้ำทิ้งชุมชนใกล้บริเวณนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี และมีศักยภาพในการสลายอะคริลาไมด์สูงที่สุดในจำนวนแบคทีเรียสลายอะคริลาไมด์ที่มีในห้องปฏิบัติ 5 สายพันธุ์ การทดลองเริ่มต้นจากการใช้ดีเจนเนเรซีไพรเมอร์ที่ออกแบบมาจากลำดับกรดอะมิโนบริเวณอนุรักษ์ของยีนอะมิโดไฮโดรเลสในแบคทีเรียสกุล Enterobacter spp. เพิ่มปริมาณและโคลนยีนอะมิเดสช่วงปลายอะมิโนและปลายคาร์บอกซี ที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทดื จำนวน 297 และ 354 คู่เบสตามลำดับ เข้าสู่พลาสมิด pUC118 และทรานส์ฟอร์มเข้า Escherichia coli DH5a นำลำดับนิวคลีโอไทด์ที่หาได้มาออกแบบไพรเมอร์ชุดใหม่เพิ่มเพิ่มปริมาณชิ้นยีนอะลิฟาติกอะมิเดสในช่วงกลางและช่วงปลาย 3' ด้วยเทคนิคพีซีอาร์ย้อนกลับแบบจำเพาะ โคลนผลิตภัณฑ์พีซีอาร์ที่ได้เข้าสู่พลาสมิด pTG19-T และหาลำดับนิวคลีโอไทด์ทั้งหมด ผลการทดลองที่ได้พบลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนอะลิฟาติกอะมิเดสของ E. aerogenes ขนาด 726 คู่เบส ที่สามารถคาดเดาเป็นกรดอะมิโนจำนวน 241 ตัว และมีความคล้ายคลึงมากกว่าร้อยละ 80 กับยีนของเอนไซม์ในกลุ่มไนไตร์เลส/ไซยาไนด์ ไฮโดรเลสและอะมิเดสของ enterobacteriaceae ที่มีในฐานข้อมูลโลก และลำดับกรดอะมิโนที่คาดเดาจากลำดับนิวคลีโอไทด์ที่หาได้พบความเหมือนมากว่าร้อยละ 88 กับเอนไซม์อะมิเดส เมื่อวิเคราะห์ข้อมุลลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ได้พบกรดอะมิโนแอสปาเทตตำแหน่งที่ 191 และเซรีนตำแหน่งที่ 196 เกี่ยวข้องกับบริเวณแอคทีฟของเอนไซม์ ขณะที่กลูตาเมตตำแหน่งที่ 27 ไลซีนตำแหน่งที่ 92 และ ซีสเทอีนตำแหน่งที่ 126 เป็นกรดอะมิโน ที่เกี่ยวข้องกับการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ เมื่อทำการเพิ่มปริมาณชึ้นยีนที่กำหนดการสร้างเอนไซม์อะมิเดสจาก E. aerogenes และโคลนเข้าสู่ดีเอ็นเอพาหะเอื้อการแสดงออก pColdl พบว่าริคอมบิแนนท์อะมิเดสที่โคลนได้มีการแสดงออกเป็นโปรตีนขนาด 28 กิโลดาลตัน ในเซลล์ให้อาศัย Escherichia coli DH5 แต่มีการแสดงออกที่มากเกินไปจนจับกันเป้นก้อนตกตะกอนภายในเซลล์ในรูปของอินคลูชั่นบอดี้ โดยความเข้มข้นของ IPTG การเติมกลูโคส แลคโตส และกลีเซอรอล และการแสดงออกที่อุณหภูมิต่ำไม่สามารถลดการแสดงออกของริคอมบิแนนท์อะมิเดสในรุปของอินคลูชั่นบอดี้ในเซลล์ได้ทั้งหมด ขณะที่การแสดงออกของริคอมบิแนนท์อะมิเดส ในรูปของโปรตีนที่ขับออกนอกเซลล์ของ Bacillus subtillis มีปริมาณที่ต่ำเกินไปจนไม่สามารถทำบริสุทธิ์และตรึงรูปเอนไซม์ต่อไปได้th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี 2556en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectกรดอะคริลิก - - การผลิตth_TH
dc.subjectอะคริลาไมด์th_TH
dc.subjectสารประกอบอะลิฟาติกth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการผลิตปริมาณสูงและการตรึงเอนไซม์อะลิฟาติกอะมิเดสสำหรับประยุกต์ใช้ในกระบวนการสลายอะคริลาไมด์และอุตสาหกรรมการผลิตกรดอะคริลิกth_TH
dc.title.alternativeHigh-level production and immobilization of an aliphatic amidase for application in acrylamide degradation and industrial production of acrylic acid
dc.typeResearch
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeA widespread use and indiscriminate discharge of acrylamide, a neurotoxicant and probably human carcinogen has led to their presence in environment. In spite of its general toxicity, some microoraanisme can derive energy from acrylamide for growth. In its catabolism, acrylamide is deaminated to ammonia and acrylic acid, a process catalyzed by amidase or amidase (EC 3.5.1.4). In this study,an attempt has been tried to identify an aliphatic amidase gene from Enterobacter aerogenes, a novl acrylamide-degrading bacterium isolated from domestic wastewate in Chonburi. The amidase gene from this bacterium was initially identified by PCR using degenerate primers designed from conserved amino acid sequences of amidohydrolasc genes of Enterobacter spp. Amino- and carboxy-terminal fragment of the gene consisted of 297 and 354 nucleotides,respectively were successfully amplified and cloned into pUC118. The ligation products were transformed into Escherichia coli DH5 and nucleotide sequencing of the gene was carried out. The, new sets of primer were designed according to the obtained sequences. The internal fragment and the unknown 3'- franking region of the gene were amplified with nested-inverse PCR method. After that, the obtained PCR products were cloned into pTG19.T The open reading frame of the gene consisted of 726 nucleotides (241 deduced amino acids) were obtained. BLAST analysis showed more than 80% similarity to that of several amidase and nitrilase/cyanide hydrolase genes from Enterobacteriaceae submitted to Genbank. The deduced amino acid sequences revealed more than 88% homology th other amidases in the same family. Analysis of the amidase gene sequence suggesting the involvement of D191 and S196 as the active site and the catalytic triad (E27, K92 and C126) has been found. IPTG and the additions of glucose, lactose and glyserol Expression of the amidase with a Mr of 28 kDa in Escherichia coli DH5 resulted in only insoluble particles (inclusion bodies). IPTG and the additions of glucose, lactose and glycerol and expression under low temperature could not completely inhibit the insoluble expression. Moreover, recombiant amidase secreted from Bacillus subtilis did not show any activity then could not be used for further purification and immobilizationen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น