กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1236
ชื่อเรื่อง: | การประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจหลอดเลือดในการให้ยาต้านโรคซึมเศร้าร่วมกับยาต้านการอักเสบในหนูขาวที่มีภาวะซึมเศร้า |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Cardiovascular risk assessment of combined treatment of antidepressant and anti-inflammatory drugs in rats with depression |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เพชรรัตน์ ตรงต่อศักดิ์ อุไรวรรณ อินทมาโส วนิดา โอฬารกิจอนันต์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ |
คำสำคัญ: | โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคซึมเศร้า สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โรคซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับการทำงานแบบผิดปกติของ hypothalamic-pituitary-adrenal axis มีการกระตุ้นระบบประสาทวิมพาเธติคมากกว่าปกติ และเกี่ยวข้องกับการอักเสบ ความผิดปกติเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดดรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ในการรักษาได้นำยาต้านอักเสบ NSAIDs กลุ่ม COX 2 inhibitor มาใช้รักษาร่วมกับยาต้านซึมเศร้า แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าการให้ยาร่วมแบบนี้จะมีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาผลของการให้ยาต้านซึมเศร้า fluoxetine (5 mg/kg/d) ร่วมกับยาต้านอักเสบ celecoxib (5 mg/kg/d) ในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะซึมเศร้าด้วยการให้ความเครียดอย่างเรื้อรัง (chronic mild stress) โดยให้ยาและความเครียดเป้นเวลา 5 สัปดาห์ แล้วประเมินผลต่อพฤติกรรมซึมเศร้าทดสอบด้วย forced swimming test, การเพิ่มของน้ำหนักตัว (%weight gain), การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิด และการเปลี่ยนแปลงของสารสื่ออักเสบ ผลการศึกษาพบว่า ยาต้านซึมเศร้า fluoxetine เมื่อให้ร่วมกับยาต้านอักเสบ celecoxib ไม่สามารถช่วยให้พฤติกรรมซึมเศร้าดีขึ้น และอาจทำให้มีการคั่งของน้ำในร่างกายซึ่งบ่งชี้จากการเพิ่มขึ้นของ %weight gain การให้ fluoxetine อย่างเดียวมีผลลดความดันโลหิต แต่การให้ยาร่วมกลับทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง การให้ยาร่วมสามารถลดระดับ plasma IL-1B ได้เกือบสมบูรณ์ แต่ไม่ช่วยส่งเสริมให้พฤติกรรมซึมเศร้าดีขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการให้ยา fluoxetine เพียงอย่างเดียวและการให้ยาร่วมให้ผลต่อระดับ CRP เท่ากัน แต่ระดับ CRP ยังคงสุงกว่าปกติ จึงอาจทำให้เสี่ยงต่อการเสื่อมหน้าที่ของหลอดเลือดได้ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1236 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2559_036.pdf | 688.24 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น