กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1203
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของเวลาเก็บกักทางชลศาสตร์ต่อการบำบัดน้ำเสียชุมชนที่มีความเข้มข้นต่ำด้วยกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบ IFAS
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of hydraulic retention time in IFAS wastewater treatment systems with weak municipal wastewater
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธงชัย ศรีวิริยรัตน์
โสภา ชินเวชกิจวานิชย์
กนกกานต์ พิทยากูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การบำบัดน้ำเสีย
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เพื่อประเมินศักยภาพและเสถียรภาพของระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอคติเวเต็ทสลัดจ์ (Activated Sludge, AS) ที่ถูกปรับปรุงเป็นระบบ Integrated Fixed Film Activated Sludge หรือ ระบบ IFAS โดยมีระยะเวลาเก็บกักชลศาสตร์ (Hydraulic Retention Time, HRT) และอายุสลัดจ์ (Solids Retention Time, SRT) เป็นตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ระบบบำบัดน้ำเสีย IFAS และ AS ถูกจำลองขึ้นมีลักษณะที่เหมือนกัน มีความแตกต่างในการมีตัวกลางในถังเติมอากาศ ระบบทั้งสองทำงานคู่ขนานกันในการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่ระยะเวลาเก็บกักชลศาสตร์เท่ากับ 6, 8, และ 10 ชั่วโมงและอายุสลัดจ์เท่ากับ 4, 6, และ 8 วัน ตามลำดับ เพื่อกำจัดสารอินทรีย์และการเกิดไนตริฟิเคชั่นในระบบ ผลการทดลอง พบว่า AS นั้น ล้มเหลวที่จะเข้าสู่สภาวะคงที่เมื่อระบบถูกเดินด้วยตัวแปร HRT-SRT เท่ากับ 10-4, 8-4, 8-6 ชั่วโมง-วัน และที่ HRT 6 ชั่วโมง สำหรับทุกค่าอายุสลัดจ์ ขณะที่ระบบ IFAS สามารถเข้าสู่สภาวะคงที่ในทุกๆสภาวะการทดลองยกเว้นที่ HRT และ SRT เท่ากับ 6 ชั่วโมงและ 4 วัน ตามลำดับ ซึ่งเป็นสภาวะวิกฤตสุดในการศึกษาครั้งนี้ สาเหตุการล้มเหลวของระบบในการเข้าสู่สภาวะคงที่และการลดลงของไนตริฟิเคชั่นของระบบ AS เกิดจากการมีจุลินทรีย์ประเภทเส้นใยจำนวนมากในระบบ อันเนื่องจากสภาวะการผสมโดยสมบูรณ์ของถังปฏิกิริยาและการใช้สารอินทรืย์ที่ใช้ย่อยสลายได้ง่ายในน้ำเสีย ทั้งนี้ ผลการตรวจทางกล้องจุลทรรศน์พบว่า ระบบ AS มีปริมานจุลินทรีย์ประเภทนี้ในจำนวนที่มากกว่าระบบ IFAS และเมื่อลงค่า HRT และ SRT ลง ทำให้ภาระสารอินทรีย์ที่เข้าสู่ระบบมากขึ้น ระบบ IFAS มีศักยภาพที่สูงกว่าระบบ AS อย่างชัดเจนในการรักษาประสิทธิภาพของการกำจัดสารอินทรีย์และไนตริฟิเคชั่นและเข้าสู่สภาวะคงที่ ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าจุลินทรีย์ที่ยึดติดบนตัวกลางสามารถลดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ประเภทเส้นใย ด้วยการลดปริมาณสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายง่ายที่จะถูกนำไปใช้ในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ประเภทเส้ยใย เมื่อจุลินทรีย์ประเภทเส้นใยลดน้อยลงระบบจึงมีเสถียรภาพมากขึ้น กล่าวสรุป ระบบ IFAS มีความเสถียรภาพและศักยภาพมากว่าระบบ AS โดยเฉพาะการเกิดไนตริฟิเคชั่น และทั้งสองระบบไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญสำหรับการกำจัดสารอินทรีย์
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1203
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น