กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/114
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุพิศ สุวรรณประทีป | |
dc.contributor.author | ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:45:49Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:45:49Z | |
dc.date.issued | 2545 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/114 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องแบบแผนการดูแลบุตรวัยขอบปีแรกของมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการเลี้ยงดูบุตรวัยขวบปีแรกของมารดาติดเชื้อเอชไอวี และศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงดูบุตร ความต้องการการช่วยเหลือ และการวางแผนในอนาคตสำหรับบุตร กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี ที่ได้รับการให้คำปรึกษาแล้ว และมีบุตรวัยขวบปีแรก วึ่งนำบุตรมารับบริการตรวจสุขภาพ ที่คลินิกสุขภาพเด็กดี ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2542 จำนวน 10 ราย โดยกลุ่มตัวอย่างสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย เก็บข้อมูลที่บ้านของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ร่วมกับการสังเกต โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงร่างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตรงตามเนื้อหาของการวิจัย ขณะสัมภาษณ์ใช้การจดย่อและการบันทึกเทปวิทยุ จากนั้นนำข้อมูลมาจัดกลุ่มและวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี เป็นมารดาอายุน้อย มีอายุระหว่าง 17-28 ปี มารดา 4 คน มีลูกเป็นคนแรก ที่เหลือมีลูกเป็นคนที่ 2 มีการศึกษาระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา มีรายได้ของครอบครัวค่อนข้างต่ำคือ 3,000-6,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหย่มีอาชีพแม่บ้าน สามีอาชีพรับจ้างรายวัน ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว สัมพันธภาพในครอบครัวดี มีการรับรู้ต่อบทบาทการเป็นมารดาในทางบวก ทั้งหมดคิดว่าตนเองติดเชื้อจากสามีแบบแผนการเลี้ยงดูบุตรที่พบคือ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเลี้ยงลูกด้วยนมผสม ส่วนใหญ่จะเลี้ยงบุตรด้วยตนเอง มีการให้อาหารอื่นนอกจากนมก่อนเด็กอายุ 3 เดือน อาหารที่นิยมให้คือ กล้วยครูดและข้าวบด การทำความสะอาดขวดนมยังไม่ถูกต้องใช้วิธีการล้างด้วยน้ำยาล้างจานและลวกด้วยน้ำร้อน การทำความสะอาดร่างกายลูกเหมาะสม พาลูกไปรับวัคซีนครบตามกำหนดและมาตรวจสุขภาพตามแพทย์นัดอย่างต่อเนื่อง เมื่อลูกไม่สบายจะพาไปพบแพทย์ ไม่มีปัญหาในเรื่องการปฏิบัติการเลี้ยงดูลูก แต่มีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ ไม่มีเงินซื้อนมให้ลูก ทำให้ต้องให้อาหารอื่นแทนนม ยังไม่มีการวางแผนในอนาคตสำหรับลูกอย่างชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ดูแลลูก เพราะมารดาส่วนใหญ่ยังไม่เปิดเผยว่าตนเองติดเชื้อ แต่คาดหวังว่าญาติสนิทคือแม่ของตนสามารถดูแลลูกต่อให้ได้ มีความตั้งใจที่จะทำงานเก็บเงินไว้ให้ลูก ความต้องการการช่วยเหลือ ต้องการให้โรงพยาบาลมีนมผสมแจกฟรีอย่างพอเพียง และอยากให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีโอกาสได้งานทำ | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2542 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ทารก - - การดูแล | th_TH |
dc.subject | ผู้ติดเชื้อเอชไอวี | th_TH |
dc.subject | มารดาและทารก | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | แบบแผนการเลี้ยงดูบุตรวัยขวบปีแรกของมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี | th_TH |
dc.title.alternative | The Pattern of Childrearing of HIV-infected Mothers | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2545 | |
dc.description.abstractalternative | Abstract: The objectives of this qualitative research were to study the pattern of childrearing of HIV-infected mothers and to examine the childrearing problems, helped needs for childrearing, and the future plans for their infants. The samples were ten HIV-infected mothers who had received counselling and brought their infants to well-baby clinics for check up at Queen Sawangwatana Memorial Hospital. The data were collected at samples's residentes by using indepth interview and non-participant observations. The data were analized by content analysis.The results of this study revealed that the HIV-infected mothers were young women with age ranged from 17 to 28 years. Four mothers had first baby, others had the second. They had rather low education and low family income (3,000-6,000 bahts per mothers). Most of the mothers were housewives and their husbands worked as laborers. Their families were nuclear families. They had good family relationship and positive perception of mother's roles. They thought that they were infected with HIV from their husbands.Regarding the pattern of childrearing of HIV-infected mothers, it was found that all mothers used infant formula feeding. Almost mothers nurtured the babies by themselves and fed them with bananas and rice before the age of 3 monthes. They cleaned milk bottles by washing them with dish cleanser and then rinsing them with hot water. The babies took a bath twice a day and received vaccinations according to recommendation. When the babies were sick, the mothers took them to see the doctors. Mothers had no problems about childrearing except economic problems. The major economic concern was that they had not enough money to buy powder milk. Mothers reports they had no future plan for their babies, were uncertain that who will take care of the babies because they did not disclosed to other people that they were HIV-infected. They expected that their coose relative, especially their mothers, will take care of their babies. The major needs of the mothes included free infant formula feeding and the opportunities to get a job. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
156166.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น