กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1109
ชื่อเรื่อง: | สารต้านอนุมูลอิสระจากพืชสมุนไพร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Free radical scavengers from medicinal plants |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สมุนไพร - - ไทย สารยับยั้ง สารสกัดจากพืช แอนติออกซิแดนท์ |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ในการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากพืชสมุนไพร 10 ชนิด คือ นมแมวป่า (Crathostemma micranthom Sincl.), แจง (Maerua siamensis (Kurz) Pax), ขี้กา (Trichosanthes tricuspidata Lour.), ชะเนียง (Archidendron jiringa Nielsen), เถาคัน (Parthenocissus vitacea Aitch), จุกโรหินี (Dischidia rafflesiana Wall.), หมากผู้หมากเมีย (Cordyline fruticosa Goppert), กระแตไต่ไม้ (Drynaria quercifolia (L.) J. Sm.), มะไฟ (Baccaurea sapida Muell.), ลำเจียก (Pandanus odoraissimus Linn. F.), ด้วย 2,2-diphenyl-picrylhydrazyl radical (DPPH) พบว่าส่วนสกัดไดคลอโรมีเทนจากลำต้นของต้นนมแมวป่า (Crathostemma micranthom Sincl.)แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด (IC50 = 3.2 ppm) นำส่วนสกัดดังกล่าวมาแยกด้วยวิธีทางโครมาโทกราฟี และพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารที่แยกได้โดยอาศัยข้อมูลทางสเปกโตรสโคปี แยกสารได้ทั้งหมด 5 ชนิด คือ ของผสมระหว่าง stigmasterol และ β-sitosterol, ของผสมของ alkyl trans-ferulate 3 ชนิด dimethyl terephthalate, p-hydroxybenzoic acid และ stigmasterol-3-O-β-D-glucopyranoside นอกจากนี้ พบว่าของผสม alkyl trans-ferulate แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1109 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น