กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1098
ชื่อเรื่อง: | คุณภาพบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ปี 2545 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Quality of community development graduates of the 2002 curriculum |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุภัสตรา เก้าประดิษฐ์ ทรัพย์ชูกุล ประจักษ์ น้ำประสานไทย เรวัต แสงสุริยงค์ บุญเชิด หนูอิ่ม สุเนตร สุวรรณละออง พรทิพย์ พันธุ์ยุรา รัตนา วิงวอน กนกพร ตันวัฒนะ สุธิดา แจ้งประจักษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คุณภาพบัณฑิต หลักสูตร |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่อง คุณภาพของบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน ปี 2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตและเปรียบเทียบคุณภาพบัณฑิตประเภทโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัย ประเภทที่มหาวิทยาลัยสอบคัดเลือกตรงและประเภทที่สอบผ่านทบวง มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นบัณฑิต และผู้ปกครอง โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ปี 2545 ในมิติของนิสิต- คุณภาพของบัณฑิตทั้งด้านการเรียนการสอนและคุณภาพบัณฑิตอยู่ในระดับมากขึ้นไปเกือบทุกเรื่อง แต่มีบางประเด็นที่นิสิตบางคนให้คะแนนอยู่ในระดับน้อยมากถึงต้องปรับปรุง เช่น ด้านการเรียนการสอน ด้านหลักสูตร โดยเฉพาะเรื่องการผลิตบัณฑิตได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ด้านอาจารย์มีระดับมาก โดยเฉพาะเรื่อง มีการวัดผลและประเมินผลอย่างยุติธรรม ในมิติของผู้ปกครอง ซึ่งคุณภาพของบัณฑิตทั้งในด้านความรู้ความสามารถ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านบุคลิกภาพในการปฏิบัติงาน และด้านคุณธรรม จริยธรรมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากขึ้นไป ยกเว้นเรื่องความสามารถในการประเมินผลงานและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยทางด้านการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิต ในด้านหลักสูตร นิสิตส่วนใหญ่ให้คะแนนระดับมากขึ้นไปเกือบทุกข้อ ในด้านอาจารย์ นิสิตประเมินระดับมากในด้านพฤติกรรมการสอน รูปแบบการสอนที่อาจารย์รายวิชาเอกใช้ และคุณลักษณะของอาจารย์ และในด้านนิสิต ด้านรูปแบบการเรียนของนิสิตตามการรับรู้ของอาจารย์ พบว่านิสิตส่วนใหญ่ให้คะแนนมากขึ้นไปในเรื่องรูปแบบการเรียนแบบพึ่งพา แบบร่วมมือ และแบบอิสระ ด้านการใช้เวลาระหว่างเรียนในระดับปริญญา พบว่า นิสิตส่วนใหญ่ให้น้ำหนักคะแนนที่เกี่ยวกับการเข้าเรียนมากที่สุด และน้ำหนักคะแนนที่น้อยที่สุดคือการทำงาน Part time และ 3) เปรียบเทียบคุณภาพบัณฑิตหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนปี 2545 ทั้งสามประเภทคือ ประเภทโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัย ประเภทที่มหาวิทยาลัยสอบคัดเลือกตรงและประเภทที่สอบผ่านทบวงมหาวิทยาลัย พบว่า คุณภาพด้านการเรียนการสอนและคุณภาพของบัณฑิตทั้งสามประเภทไม่มีความแตกต่างกัน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1098 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_101.pdf | 4.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น